จริงๆ แล้ว การที่ต้นไม้เกิดขึ้นและเติบโตอย่างสมบูรณ์ได้นั้น ไม่ใช่ว่า ต้นไม้จะต้องการธาตุอาหาร 3 ชนิด คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ตามปุ๋ยที่ขายๆ กับทั่วไปตามท้องตลาดเท่านั้นนะครับ

แต่ความเป็นจริงแล้ว ต้นไม้จะเกิดและเติบโตได้ จำเป็นต้องมีธาตุอาหารมากถึง 16 ธาตุด้วยกัน (นี่ไม่รวมปัจจัยอื่นๆ ด้วยนะ)

ซึ่งสิ่งที่ต้นไม้ต้องการมาก คือ น้ำ (ไฮโดรเจน+ออกซิเจน) ต้องการมากถึง 70% เลย ส่วนธาตุอาหารหรือดินอื่นๆ ต้องการเพียง 30% ดูจากต้นไม้ในแจกัน แม้ไม่ดีดินก็ยังไม่ตาย

ฉะนั้น 3 ธาตุอาหารพื้นฐานของต้นไม้ คือ ไฮโดรเจน ออกซิเจน และคาร์บอน ธาตุอาหารพวกนี้เราไม่ต้องไปหาซื้อที่ไหน มีอยู่แล้วในน้ำและอากาศ ซึ่งจะสกัดให้เป็นธาตุอาหารได้ด้วยการสังเคราะห์แสงแดด เพียงเท่านี้ต้นไม้ก็เติบโตได้แล้ว ต้นไม้ลอยน้ำจึงเติบโตได้โดยที่เราไม่ต้องไปทำอะไร

ส่วนอีก 13 ธาตุอาหาร เพื่อเพิ่มศักยภาพการเติบโตดีกว่าเดิม เกิดขึ้นในดินหรือใส่ธาตุอาหารเพิ่ม ประกอบไปด้วย

ธาตุอาหารหลัก 3 ชนิด คือ
– ไนโตรเจน เน้นบำรุงต้น บำรุงใบ บำรุงการเติบโต
– ฟอสฟอรัส บำรุงราก การไหลเวียนของอาหารในต้นไม้
– โพแทสเซียม บำรุงดอกผล

เป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการรองลงมาจาก น้ำ อากาศ และแสงแดด มนุษย์เราจึงนิยมเอา 3 ธาตุอาหารนี้มาทำเป็นปุ๋ย แล้วแข่งกันที่ความเข้มข้ม ที่มากกว่า ฉันมากกว่า จนเป็นความเชื่อไปว่า ใส่ธาตุอาหาร 3 ชนิดนี้สูงๆ แล้ว ต้นไม้จะดี

เออ เคยถามต้นไม้สักคำไหมว่ากินไหว รึเปล่า???

จริงๆ ต้นไม้ก็เหมือนคนเรานี่แหละ เราบอกว่า ข้าวนี้มีประโยชน์มากในการดำรงชีพของเรา
ถ้าอย่างนั้นถ้าผมตักข้าวสักกะละมังให้ลูกผมกินให้หมดภายในมื้อเดียว คุณคิดว่าสามารถทำได้ไหมครับ
ไม่มีทาง ถูกไหม ต้นไม้ก็เหมือนกัน จะใส่มากแค่ไหน ต้นไม้มันก็กินพออิ่ม หิวเมื่อไหร่ก็หลับมากินอีก อิ่มเมื่อไหร่ก็หยุดอีก ไม่มีทางที่จะกินให้หมดแล้วจะอยู่ได้นานนะ

ต้นไม้ไม่ใช่จรเข้ ที่กินพุงกางมื้อเดียวแล้วจะอยู่ได้นานเป็นหลายเดือน!!!

ทุกๆ ต้นไม้สามารถกินปุ๋ยธาตุอาหารหลักได้เพียงมื้อละ 4-4-1 เท่านั้น
แม้จะใส่ปุ๋ย 15 – 15 – 15 ไป มันก็กินได้แค่ 4-4-1 ส่วน 11-11-14 ที่เหลือหละก็ทิ้ง ก็สลาย ก็ระเหยไป ต้นไม้ไม่ได้ประโยชน์อะไร

จากข้อนี้ผมไม่ได้คิดเองแต่ได้อ้างอิงแนวคิดเพื่อยกตัวอย่างมาจาก
วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร ม.แม่โจ้ พ.ศ. 2560 ทดลองสุ่มกับข้าวแบบเปรียบเทียบข้าว ได้ผลดังนี้
1. แปลงข้าว ปลูกไม่ใส่ปุ๋ยเลย ได้ความสูง 78 cm
ขายข้าวได้ 6,600 บาท
2. แปลงข้าว ปลูกใส่ปุ๋ยเคมี 15-5-5 ได้ความสูง 75 cm
ขายข้าวได้ 8,000 บาท
3. แปลงข้าว ปลูกใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินเมืองไทย ใส่ปุ๋ย 4-4-0 ได้ความสูง 81 cm
ขายข้าวได้ 8,100 บาท
4. แปลงข้าว ใส่ปุ๋ย 2 เท่า (8-8-0) ได้ความสูง 77 cm (เสียค่าปุ๋ย 2 เท่า)
ขายข้าวได้ 7800 บาท
5. แปลงข้าว ใส่ปุ๋ย 3 เท่า (12-12-0) ได้ความสูง 82 cm (เสียค่าปุ๋ย 3 เท่า)
ขายได้ 8,100 บาท

จากการทดลองสรุปได้ว่า
สมาชิกในการวิจัย ผู้ใช้ 4-4-0 สามารถลดค่าปุ๋ยได้ 506 บาทต่อไร่ ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 175 ก.ก. ต่อไร่ ข้าวแข็งแรง จึงจำเป็นต้องใช้สารกำจัดศัตรูพืช น้อยลงมาก

วิจัยจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร
วิเคราะห์ต้นลำไยอายุ 3 ปี จากใบและลูก พบว่าใน 1 ปี ต้นลำไยใช้ไนโตรเจน (N) 4.45 กิโลกรัม ฟอสฟอรัส (P) 4.275 กิโลกรัม และโพแทสเซียม (K) 1.025 กิโลกรัม
= ต้นลำไยใช้ NPK 4-4-1 เท่านั้นเอง

นอกจากธาตุอาหารหลักแล้ว ต้นไม้ยังต้องการธาตุอาหารรอง และเสริมอีกด้วย ซึ่งถึงแม้จะไม่ได้ต้องการในปบริมาณที่มากเท่าธาตุอาหารหลัก แต่ก็ต้องมี
เพราะธาตุอาหารรองและเสริมนี้ มีคุณสมนบัติเพิ่มศักยภาพ ประสิทธิภาพการกินปุ๋ยของต้นไม้ ต้นไม้สามารถกินปุ๋ยได้มากกว่า 441 ได้ ถ้าต้นไม้ได้ธาตุอาหารรองและเสริม
ซ้ำยังช่วยให้ต้นไม้กินปุ๋ยได้ดีขึ้นในภาวะดินที่ค่อนไปในทางเป็นกรด หรือด่าง จึงช่วยลดอาการต้นไม้ไม่กินปุ๋ยได้ดี

3 ธาตุอาหารรอง ได้แก่
– แคลเซียม ช่วยในการแบ่งเซลล์พืช ช่วยเพิ่มผลผลิต ดอกผลมีคุณภาพ
– แม็กนีเซียม ช่วยให้การสังเคราะห์แสงดีขึ้น ลำเลียงฟอสฟอรัสได้ดีกว่าเดิม
– ซิลิก้า (กำมะถัน) ช่วยสร้างกรดอะมิโน สร้างโปรตีน เพิ่มภูมิต้านทาน และต้านแมลงศัตรูพืช

10 ธาตุอาหารเสริม ได้แก่
– โบรอน ช่วยเพิ่มเนื้อเยื้อใหม่ ทดแทนส่วนที่สึกหรอ และเพิ่มยอด ผสมเกสร
– สังกะสี เร่งการเจริญเติบโต เร่งการใช้ธาตุอาหาร
– เหล็ก ช่วยสร้างคลอโรฟิลล์ กระบวนการสังเคราะห์แสง
– ทองแดง ช่วยเพิ่มเอนไซม์สังเคราะห์แสง ในระยะออกดอกผล
– แมงกานีส ช่วยเพิ่มเอนไซม์เกี่ยวกับการหายใจ และการสังเคราะห์แสง
-โมลิบตินัม ข่วยตรึงไนโตรเจนจากอากาศ ด้วยปมราก
– คลอรีน ช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุอาหารของรากและต้น รักษาประจุธาตุอาหารและสังเคราะห์แสง

สรุปการวิจัยได้ว่า
ใส่ปุ๋ยค่ามากๆ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะได้ผลดีกว่าซะหน่อย!!
ใส่มากไป ต้นไม้หิวแค่ไหนก็กินปุ๋ยได้เท่าที่อิ่ม หากกินไม่ทันกินไม่หมด ปุ๋ยที่เหลือก็ทิ้งไป/เลี้ยงหญ้าไม่มีประโยชน์อะไร
พืชก็ไม้ได้โตขึ้นเร็วกว่าเดิม แถมบางที่ไม่งามกว่าเดิมด้วยซ้ำ เหมือนซื้อปุ๋ยแพงๆ ไปถมที่
ยิ่งเมืองไทย ดินพื้นฐานดีอยู่แล้ว หากเพิ่มศักยภาพดินให้ดีๆ ดินจะมีธาตุอาหารจากธรรมชาติเพียงพอแล้ว โดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มก็ได้

ดังนั้นหากเราจะใส่ปุ๋ยเน้นเลขปุ๋ยที่พอดีๆ ต้นไม้มันก็มีขีดจำกัดในการดูดธาตุอาหารนะ แม้เราจะใส่ปุ๋ยมากๆ ก็ไม่ได้มากความว่าต้นไม้จะดูธาตุอาหารได้มากกว่าเดิมซะหน่อยมันก็ดูดธาตุอาหารได้เท่าเดิม
นอกกจากนี้ เราควรใส่ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารหลากหลายไม่ต้องมากก็ได้แค่ให้ครบ 13 ธาตุอาหารก็พอ และที่สำคัญควรเป็นปุ๋ยที่ปลดปล่อยธาตุอาหารให้นานๆ เราจะได้ไม่ต้องออกแรงใส่ปุ๋ยบ่อยๆ และต้นไม้ก๋ยังจะได้มีอาหารกินต่อเนื่องตลอดๆ ไม่มีมื้อไหนอด
ที่สำคัญควรเป็นปุ๋ยที่มีจุลิทรีย์เพื่อเพิ่มศักยภาพดินย่อยดินให้เป็นธาตุอาหารให้อุดมสมบูรณ์ขึ้น
เพียงเท่านี้ต้นไม้ก็จะแข็งแรง สมบูรณ์และออกดอกออกผลให้เราได้ดีกว่าเดิม

สรุปสูตรการใส่ปุ๋ยให้ได้ผลดี เลขไม่ต้องมาก ไม่ต้องเยอะแค่ให้ธาตุอาหารครบ
และควรใส่น้อยๆ แต่ถี่ๆ หรือหากไม่อยากใส่บ่อยๆ ก็ใช้ปุ๋ยที่สามารถปลดปล่อยธาตุอาหารได้นานๆ ต้นไม่จะได้มีอาหารค่อยๆ กินเพียงพอได้หลายๆ มื้อ

Leave a comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *