
เป็นเรื่องที่ใครๆ ก็อยากได้กันทั้งนั้น หลังจากลงทุนปลูกต้นไม้ ก็อยากได้ผลผลิตที่ดีๆ มีคุณภาพ
ประเด็นที่หลายคนสงสัยคือ เทคนิคการใส่ปุ๋ยให้ได้ผลดี
เราควรจะใส่ปุ๋ยนานๆ ครั้ง (สัก 1 – 2 ครั้งต่อปี) แต่ใส่คราวละมากๆ
หรือจะควรใส่ปุ๋ยบ่อยๆ (เดือนละ 1 ครั้ง) แต่ใส่คราวละน้อยๆ
อย่างไหนได้ผลดีกว่ากัน??
การจะตอบคำตอบนี้ได้ เราต้องทำความเข้าใจการกินปุ๋ยของต้นไม้ซะก่อน
เรามาดูบทวิจัยการทดสอบการกินปุ๋ยของต้นไม้
วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร ม.แม่โจ้ พ.ศ. 2560 ทดลองสุ่มกับข้าวแบบเปรียบเทียบข้าว ได้ผลดังนี้
1. แปลงข้าว ปลูกไม่ใส่ปุ๋ยเลย ได้ความสูง 78 cm
ขายข้าวได้ 6,600 บาท
2. แปลงข้าว ปลูกใส่ปุ๋ยเคมี 15-5-5 ได้ความสูง 75 cm
ขายข้าวได้ 8,000 บาท
3. แปลงข้าว ปลูกใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินเมืองไทย ใส่ปุ๋ย 4-4-0 ได้ความสูง 81 cm
ขายข้าวได้ 8,100 บาท
4. แปลงข้าว ใส่ปุ๋ย 2 เท่า (8-8-0) ได้ความสูง 77 cm (เสียค่าปุ๋ย 2 เท่า)
ขายข้าวได้ 7800 บาท
5. แปลงข้าว ใส่ปุ๋ย 3 เท่า (12-12-0) ได้ความสูง 82 cm (เสียค่าปุ๋ย 3 เท่า)
ขายได้ 8,100 บาท
(ที่ไม่ต้องใส่โพแทสเซียม เพราะในดินเมืองไทย มีมากพอ)
และผลการวิจัยจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร
วิเคราะห์ต้นลำไยอายุ 3 ปี จากใบและลูก พบว่าใน 1 ปี ต้นลำไยใช้ไนโตรเจน (N) 4.45 กิโลกรัม ฟอสฟอรัส (P) 4.275 กิโลกรัม และโพแทสเซียม (K) 1.025 กิโลกรัม
จากการทดลองสรุปได้ว่า
จริงๆ แล้วต้นไม้มีศักยภาพในการกินปุ๋ยธาตุอาหาร ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม มื้อละ 4 – 4 – 1 เท่านั้น
จากผลการวิจัย ทำให้ผมเข้าใจต้นไม้เลยว่า เขาสามารถกินอาหารได้เพียงมื้อละ 441 แม้เราจะใส่มากมายแค่ไหนก็กินได้แค่นั้น เปรียบเสมือนตัวเราเอง เดินมาหิวๆ ไปกินร้านอาหารข้าวแกงบุฟเฟ่ ของกินเพียบ ยังไมผมก็เชื่อว่า คนทั่วไป แม้จะหิวแค่ไหนก็กินข้าวได้เพียง 1 – 2 จานเท่านั้นก็อิ่มแล้ว กินไม่ไหวแล้ว ถึงแม้จะมีอาหารกองอยู่ตรงหน้าเป็นภูเขาเหลากาก็ตาม
และถึงแม้เราจะกินข้าวจนจุกแทบจะหายใจไม่ออก พอพ้นสัก 3 – 5 ชั่วโมง ก็ดันหิวใหม่ซะแล้ว
ต้นไม้ก็เหมือนคน เขาเป็นสิ่งมีชีวิต แค่เขากระดิกตัวเคลื่อนไหวไม่ได้เท่านั้นเอง

เมื่อข้อสรุปผลธรรมชาติการกินปุ๋ยของต้นไม้ที่ค่อยๆ กิน อย่างมีขีดจำกัดความอิ่มในแต่ละมื้อแล้ว
ผมจึงขอสรุปเลยว่า การใส่ปุ๋ยที่จะได้ผลดีที่สุดคือ ใส่ให้พอดี และบ่อยๆ
เพื่อให้ต้นไม้มีอาหารกินอิ่มแต่ละมื้อ และกินอิ่มหลายๆ มื้อ ไม่ใช่อดมื้อกินมื้อ

คำถามต่อมา แล้วปุ๋ยที่เราใส่ มันอยู่ได้นานแค่ไหน
ถ้าอยู่ได้นาน ต้นไม้กินไม่หมดในมื้อนี้ก็สามารถเก็บไว้กินในมื้อต่อไปได้นี่หน่า
จากที่ผมเคยทดลองมาในหลายๆ ครั้งในปุ๋ยเคมี ส่วนมากจะมีฤทธิ์ปุ๋ยอยู่ได้ประมาณ 7 วันหลังจากใส่เท่านั้นเอง ยิ่งเป็นไนโตรเจน มักหายไปก่อนเลยเพราะมันระเหิด ระเหยได้
ฉะนั้นพอพ้น 7 วันปุ๊บ ปุ๋ยหมด ต้นไม้อดอีกแล้ว
ดังนั้นเราต้องใส่ปุ๋ยสัปดาห์ละ 1 ครั้งเลยทีเดียว
จะบ้าหรอ ใส่ปุ๋ยสัปดาห์ละครั้ง ไม่ต้องทำอะไรกันแล้ว เสียค่าคนงาน ค่าเดิน ค่าปุ๋ยหมดไปเท่าไหร่ บ้าบอๆ
5555 ก็จริง ผมเข้าใจ แต่ความจริงมันเป็นอย่างนั้นอะ จะให้ทำไง

ทางแก้สำหรับผู้ที่ไม่อยากใส่ปุ๋ยบ่อยๆ
แต่มีธาตุอาหารให้ต้นไม้ได้กินอย่างต่อเนื่องไม่ขาด
- ปรับดินให้ดี ดินเมืองไทยหนะเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์มาก ผมว่าติดเป็นอันดับต้นๆ ของโลกเลยทีเดียว ธาตุอาหารในดินบ้านเรามาก มากชนิดที่เพียงพอให้ต้นไม้เติบโต เหมือนต้นไม้ในป่าใหญ่เลยหละ แต่การที่เราจะดึงธาตุอาหารพวกนั้นมาใช้ได้ เราจะเป็นต้องมีผู้ช่วย คือ จุลินทรีย์ และสิ่งมีชีวิตในดิน เช่น ไส้เดือน คอยย่อยดินแล้วเปลี่ยนเป็นธาตุอาหาร ช่วยดึงธาตุอาหารต่างๆ จากดิน อากาศ น้ำ ให้เป็นธาตุอาหารต้นไม้ แต่เป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่สิ่งมีชีวิตพวกนี้กลับถูกทำลายด้วยยาเคมี การเผาไร่ จนสูญพันธุ์ หนีหายออกจากที่ดิยของเราไป ในดินจึงไม่มีสิ่งที่ช่วยสกัดธาตุอาหารในดิน ยิ่งปลูก ผลผลิตจึงค่อยๆ น้อยลง เพราะต้นไม้ต้องพึ่งปุ๋ยที่ใส่อย่างเดียว พอไม่ใส่ หรือใส่แต่ปุ๋ยหมดฤทธิ์ ต้นไม้ก็ขาดสารอาหาร ไม่โตเลย แถมยังทำให้ดินนั้นแข็ง ตาย กักเก็บความชื้นได้ไม่มากเท่าที่ควรด้วย ฉะนั้นปรับปรุงโครงสร้างดินก่อน เรียกจุลินทรีย์กลับมา แล้วเราจะได้ธาตุอาหารจากธรรมชาติโดยไม่ต้องซื้อเลย
- หาปุ๋ยที่มีอินทรีย์วัตถุด้วย อินทรีย์วัตถุมันเป็นอาหารชั้นดีของจุลินทรีย์ การปลูกต้นไม้ให้ได้ผล ต้องบำรุงดิน และเลี้ยงจุลินทรีย์ในดินด้วย เพื่อให้สิ่งมีชีวิตพวกนี้ ช่วยดูแลต้นไม้กับเรา และช่วยเพิ่มศักยภาพการกินปุ๋ยของต้นไม้ ปรับค่า pH ในดินให้สมดุลด้วย
- หาปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพในการปลดปล่อยปุ๋ยได้นานๆ ออกฤทธิอยู่ได้นานๆ ต้นไม้จะได้มีปุ๋ยกินต่อเนื่องได้หลายๆ มื้อ การใส่ปุ๋ยไม่ต้องมาก และไม่ต้องใช้เลขธาตุอาหารหลักสูงๆ ก็ได้ เพราะจะใส่สูงแค่ไหนต้นไม้ก็กินได้เพียงมื้อละ 441 เท่านั้น
ปุ๋ยเลขสูงๆ ต้นไม้ก็ดีแต่ 7 วัน หลังจากนั้นอาหารหมด ก็ขาดสารอาหารเหมือนเดิม ไม่ยั่งยืน ฉะนั้นหาปุ๋ยที่ออกฤทธิ์ให้พอดีต่อมื้อ แต่อยู่ได้นานๆ ดีกว่า เราจะได้ไม่ต้องเดินใส่ปุ๋ยบ่อยๆ หว่านทีเดียวอยู่ได้นานๆ ไปเลย - หาปุ๋ยที่มีธาตุอาหารรองและเสริมด้วย เพราะต้นไม่ใช่ว่ามันจะต้องการธาตุอาหาร ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียมเท่านั้น ต้นไม้ยังต้องการธาตุอาหารอีก 3 ธาตุอาหารรอง และ 7 ธาตุอาหารเสริม มันถึงจะครบสูตร แม้ธาตุอาหารรอง เสริม ต้นไม้จะต้องการน้อย แต่มันก็ต้องการ ธาตุอาหารเหล่านี้จะเป็นตัวเพิ่มศักยภาพในการกินปุ๋ยต่อมื้อของต้นไม้ได้มากขึ้น เมื่อต้นไม้กินปุ๋ยได้มากขึ้น มันก็จะแข็งแรงมากขึ้น โตดี โตไว้ ออกดอกผลสมบูรณ์ และมีภูมิต้านทานดี โรคภัย ศัตรูพืชไม่เบียดเบียน
สรุปครับ ใส่ปุ๋ยมากๆ นานๆ ที กับน้อยๆ บ่อยๆ อย่างไหนได้ผลดีกว่ากัน นั้น ขึ้นอยู่กับว่า คุณใส่ปุ๋ยอะไร ปุ๋ยมีคุณสมบัติแบบไหน อยู่ได้นานหรือเปล่า
แต่ที่สรุปได้เลย ก็คือ ต้นไม้จะกินมื้อละประมาณ 441 เท่านั้น และเมื่อมันย่อยเสร็จ มันก็จะหิวอีก เหมือนกับเรา ฉะนั้นก็อย่าลืมเลือกปุ๋ยและใส่ปุ๋ยให้สอดคล้องกับธรรมชาติของต้นไม้ด้วยนะครับ แล้วผลผลิตดีๆ จะตามมาเอง