หนึ่งในปัญหาที่ทำให้ต้นไม้ของเราตายหรือเลี้ยงแล้วไม่สวย หรือหยุดชะงักการเจริญเติบโตนั้น โรคสุดฮิตมากๆ นั่นคือ “โรคเชื้อราในต้นไม้” 
โรคเน่า มักจะพบในต้นไม้ที่ปลูกในที่ดินที่มีความชื้นสูง เกิดน้ำขังสะสมอยู่บ่อยๆ จนก่อเกิดเชื้อแบคทีเรีย โดยเชื้อนี้จะเติบโตด้วยการกัดกินต้นไม้ทำให้เกิดเน่า ไม่ว่าจะส่วนไหนก็ตาม ทำให้ รากเน่า ต้นเหี่ยวเฉา ใบที่โคนเหลืองและร่วง เปลือกโคนต้น ท้ายที่สุดต้นไม้ของเราก็จะตาย หรือหยุดการเจริญเติบโต ไม่ออกผลผลิต หากไม่รีบรักษาสุดท้ายอาจรุกลามไปจนทำให้กิ่งเน่าทั้งกิ่งและตายในที่สุด

จนวันหนึ่งผมได้รู้จักเทคนิคการป้องกันและกำจัดโรคเชื้อราแบบธรรมชาติ ด้วยการเพิ่มจุลินทรีย์ที่กำจัดเชื้อรา และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับต้นไม้ รวมกับการปรับสภาพดินให้มีค่าสมดุล พร้อมๆ กัน ทำให้ผมสามารถแก้ปัญหาเรื่องโรคเชื้อราได้อย่างยั่งยืน

โรคของต้นไม้มักเกิดจากเชื้อรา จะเกิดอยู่ 5 สาเหตุหลักๆ ด้วยกัน ดังนี้
1. เกิดจากดินที่มีสภาพเป็นกรด เพราะความเป็นกรดเป็นสภาพที่เชื้อราเจริญเติบโตขยายพันธุ์ได้ดีเลยทีเดียว ซึ่งดินสภาพกรด ส่วนมากแล้วเกิดจากการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีจนมีการตกค้างอยู่ในดิน โดยเฉพาะการใช้ปุ๋ยยูเรีย (เราลองเอาน้ำส้มมาทดลองดู ก่อนใส่กับหลังใส่ปุ๋ยยูเรีย จะรู้เลยว่ารสชาติจะเปรี้ยวขึ้น)
2. มากับปุ๋ยคอก ปุ๋ยคอกนับเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่สำคัญต่อการปรับสภาพโครงสร้างดิน แต่ปุ๋ยคอกที่จะอยู่ในสภาพที่ใช้ได้ดีนั้น ต้องเป็นปุ๋ยที่ถูกหมักบ่มมานานกว่า 1 ปี จนความร้อนระอุหายไปและมีกลิ่นเหมือนกลิ่นเห็ด แต่ถ้าเราเอาปุ๋ยคอกที่ไม่ผ่านการทิ้งหมัก แม้จะแห้งก็ตาม ความซวยก็จะบังเกิดในที่ดินของเรา เพราะปุ๋ยคอกนี้คือสถานอนุบาลเพาะเชื้อและนำเชือราชั้นดีมาสู่ที่ดินของเรา แถมแก๊สร้อนๆ ยังทำให้ดินเป็นกรดอีกด้วย
3. มาจากการเพาะปลูกซ้ำๆ บ่อยๆ แต่ไม่เคยซักดิน ก็เหมือนเตียงนอนในโรงแรมที่ไม่เคยผ่านการซัก มีผู้คนนอนซ้ำๆ บ่อยๆ ก็ทำให้เกิดการหมักหมมของเชื้อโรคได้เช่นกัน

4. ล่องลอยมากับลม จริงๆ เชื้อโรค มันก็มีอยู่ทุกที่ แต่ที่ทุกๆ ต้นไม้ไม่เป็นโรคเหมือนกัน เพราะต้นไม้มีภูมิต้านทาน แต่ถ้าวันไหนที่ภูมิต้านทานต่ำ ขาดแคลเซียม ขาดกำมะถัน ต้นไม้ก็จะเกิดติดโรคได้ง่ายมากๆ
5. มากับแมลง แมลงศัตรูพืช ไม่เพียงแต่จะทำให้เราปวดหัวเรื่องการกำจัดศัตรูพืชอย่างเดียว แต่มันเป้นพาหะนำเชื้อโรคจากต้นหนึ่งมาสู่อีกต้นหนึ่งอีกด้วย

รากเน่าโคนเน่า 
เกิดจากเชื้อ ไพท็อปเทอร่า อีโบล่า ที่สามารถทำลายรากต้นไม้ และลุกลามลึกไปถึงท่อน้ำเลี้ยงเลย ทำให้ระบบทางเดินอาหารของต้นไม้มีปัญหา ส่งสารอาหารไปเลี้ยงต้นไม่ได้ และตายใบที่สุด ถึงแม้จะปลูกใหม่ แต่เชื้อร้ายนี้ก็ยังคงอาศัยในดิน พร้อมรอการทำลายต้นต่อไปที่เอามาลงปลูก

ดอกดำ หรือโรคแอนแทกโนส
เกิดจากเชื้อ คอเลตเทอทิกัม มักเกิดช่วงต้นไม้ออกดอกกำลังบาน ก็จะเกิดรอยช้ำ ดำ ไหม้ มีรอยรามีเทาๆ และถ้าเกิดในสวนพริกจะทำให้พริกไหม้ เน่า
ส่วนมากมักจะพบกับแปลงสวนที่มีใบแน่น ติดกันมากเกินไป

เชื้อไรซอกโทเนีย
ต้นไม้จะเกิดโรคเน่าคอดิน ใบไหม้จากเล็กๆ และขยายวงกว้าง และเกิดเส้นใยเหมือนใยแมงมุม ทำให้ใบเกิดติดกัน จึงเรียกอีกชื่อว่า "โรคใบติด" ส่วนมากเกิดจากเชื้อราจะเข้าบริเวณแผลเล็กๆ ทั้งในใบและโคนต้น โดยมักจะเกิดในช่วงฤดูฝน

โรคราชมพู
เกิดจากเชื้อ คอทิกัม มักเกิดบริเวณกิ่ง จะดูแห้ง มีจุดสีเหลืองขึ้นตะปุ่มตะป่ำ ร่วงหล่นลงไปเป็นครั้งๆ และมีเส้นใยเชื้อราเป็นขุยสีชมพู ถ้าปล่อยไว้เปลือกกิ่งจะเริ่มแตก และแห้งตายได้

โรคราน้ำค้าง
เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อรา Pseudoperonospora ที่ล่องลอยในอากาศแล้วเข้าผิวใบเวลาเป็นแผลที่เกิดจากการรวมแสงของน้ำค้าง

- ไฟทอปเทอร่า อีโบล่า - รากเน่า โคนเน่า
- พิเทียม - โรคเน่าคอดิน ท่อน้ำเลี้ยงบวมอุดตัน
- คอเรสเทอทิกัม - ผลแตก เปื่อยเน่า ยางไหล ตายนึ่ง แตก พริกเป็นกุ้งแห้ง
- ฟิวซาเลียม - ใบจุด ใบด่าง ใบสาหร่าย (มาจากปุ๋ยคอก) โรคเหี่ยวเหลือง
- แอนแทกโนต - ราในต้นพริก
- แอนเทอนาเรีย - ใบจุด ไหม้ ดอกเน่าช่วยดอกตูม ฐานเป็นแผล
- โบไทตีส - กินกลางดอกบาน
- สเคอทาเรียม - กล้ายุบ รากเน่า
- สแนปเฟอร่า - ยอดแห้ง กิ่งแห้ง

ปุ๋ยน้ำชีวภาพให้ทางใบ เป็นปุ๋ยที่พัฒนาสูตรโดยศึกษาจากธรรมชาติของต้นไม้  เพราะต้นไม้สามารถกินอาหารทางใบได้ด้วย และเป็นการย่นย่อระยะทาง การฉีดพ่นปุ๋ยน้ำทางใบจะทำให้ต้นไม้สามารถนำไปใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาดูดซึมอาหารจากรากขึ้นสู่ใบ ทำให้ต้นไม้สดชื่นไว เห็นผลเร็ว ทนแล้งทนหนาวได้ และแข็งแรงเติบโตดี เสมือนการให้น้ำเกลือแร่กับต้นไม้นั่นเอง

ปัญหาเชื้อโรคในต้นพันธุ์แก้ได้ด้วย
- ให้ฉีดพ่นปุ๋ยน้ำ ฮิ้ว 2 (20 cc) + เจซี 301 (5 cc) + แอคมี (50 cc) ต่อน้ำ 20 ลิตร  (อาจเพิ่มพลัส 1 10 cc ก็ได้ เพื่อบำรุงที่สุดยอด)
- หว่านปุ๋ยเจซี 633 (สีส้ม) ต้นที่มีปัญหา 5 ขีดต่อต้น หรือ 1 กระสอบต่อไร่ (หากเกิดการระบาดยกแปลง)
- ช่วงรักษาต้นไม้จะทิ้งใบที่มีปัญหาออกไป แล้วแตกยอดใหม่
- หากเกิดแมลงศัตรูพืชรบกวน ให้ใช้วิธีดำเนินการตามสูตรที่ศึกษามาในแต่ละชนิดของแมลง

This is the bottom slider area. You can edit this text and also insert any element here. This is a good place if you want to put an opt-in form or a scarcity countdown.