มันสำปะหลัง นับเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่เกษตรกรนิยมปลูกกันมากๆ
โดยเฉพาะพื้นที่ที่น้ำไม่ค่อยถึง เพราะมันสำปะหลังไม่ชอบดินแฉะเท่าไหร่นัก

สำหรับเกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลัง เขาก็อยากให้มันตนปลูกมีหัวที่ใหญ่ น้ำหนักดี และมีคุณภาพ เพื่อจะได้จำหน่ายได้รายได้มากๆ

แต่อย่างไรก็ตามแม้มันสำปะหลังจะมีปัญหาโรคไม่มากเหมือนต้นไม้ผลอื่นๆ บางครั้งเกษตรกรก็อาจจะพบความโชคร้ายที่มันสำปะหลังที่ตัวเองปลูกเกิดโรค หรือศัตรูพืชเข้ามาก่อกวน
ทำให้เกษตรกร จำเป็นต้องเสียเงิน เสียแรง และเสียเวลาที่จะแก้ไขปัญหานี้
หรือไม่ก็ต้องทิ้งดันทิ้งไปทั้งแปลงเลย

ซึ่งปัญหาที่อาจจะเกิดจากมันสำปะหลังได้ ยกตัวอย่างเช่น
1. โรคเน่า เชื้อรา ใบหงิก - ส่วนมากแล้วปัญหานี้มักจะเกิดจาก
- ติดมากับพันธุ์เอง หรือเชื้อโรคมันก็มีอยู่ในดินอยู่แล้ว โดยเฉพาะแปลงที่มีการปลูกซ้ำๆ บ่อยๆ
- การใส่ปุ๋ยคอกที่ไม่ผ่านการหมัก เพราะปุ๋ยคอกเหล่านี้จะเป็นหลักสำคัญที่จะนำพาเชื้อรา เชื้อโรคมาสู่ดิน แม้การใส่ปุ๋ยคอกจะช่วยการปรับสภาพดิน แต่มันก็มาพร้อมกับหัวเชื้อโรคชั้นดีด้วย
- การใส่ปุ๋ยยูเรียเป็นระยะเวลาที่นาน ต้องยอมรับในทางการวิจัย พบว่า ปุ๋ยยูเรียที่ตกค้างอยู่ในดิน เป็นส่วนสำคัญทำให้ดินเปรี้ยว มีค่าเป็นกรดมากขึ้น (ลองเอาน้ำส้มคั้นสดผสมยูเรียแล้วชิมดู น้ำส้มที่กินจะมีความเปรี้ยวเพิ่มมากขึ้น) 
ซึ่งการที่ดินมีค่าเป็นกรดก็จะส่งผลทำให้ดินละเอียดขึ้น แน่นขึ้นเหนียวขึ้น รากจึงเดินไม่ค่อยดี แก๊สในดินก็ระบายออกได้ยาก ไม่โปร่ง ส่งผลทำให้ดินแฉะนาน เป็นกรด ซึ่งมันสำปะหลังเป็นพืชที่ไม่ชอบให้หัวแฉะน้ำอยู่แล้ว นอกจากนี้ดินเป็นกรดก็ยังเป็นแหล่งเพาะเชื้อขยายพันธุ์ได้ดีของเชื้อโรคอีกด้วย

2. เพลี้ยแป้ง เหตุการณ์นี้มักจะเกิดในช่วงฤดูแล้งน้ำไม่เพียงพอ เพราะถ้าน้ำเพียงพอ ยางมันสำปะหลังจะอุดมไปด้วยสารไซยาไนด์ มีพิษ แต่พอแล้ง สารนั้นจะแปรเปลี่ยนเป็นน้ำตาล มดจึงขนเพลี้ยแป้งมาเป็นตัวเจาะน้ำตาลออกจากต้นมันสำปะหลังยังไงหละ เคสนี้คงต้องใช้บิวเวอเรียจัดการครับ

เตรียมดินเริ่มต้นฤดูกาล
- ปรับสภาพดินให้พร้อมต่อการเพาะปลูก ด้วยการ หว่านปุ๋ยเจซี 633 (สีส้ม) ให้ทั่วแปลง ในอัตรา 2 กระสอบ (50 ก.ก.) ต่อไร่ ทิ้งไว้ 1 เดือน (โดยเฉพาะแปลงที่เคยใช้ปุ๋ยเคมีมาโดยตลอด) เพื่อซักดิน ปรับภาพความเป็นกรดด่าง ฆ่าเชื้อโรค
- ยกร่อง เป็นเนินหลังเต่าตามสูตรที่ศึกษามาในแต่ละพื้นที่ หว่าน ปุ๋ยเจซี 633 (สีส้ม) ให้ทั่วแปลง ในอัตรา 1 กระสอบ (25 ก.ก.) ต่อไร่ ทิ้งไว้ 1 สัปดาห์
- แต่ถ้าฤดูกาลก่อนเคยใช้ปุ๋ยเจซี 633 (สีส้ม) ให้หว่านปุ๋ยเจซี 633 (สีส้ม) ให้ทั่วแปลง ในอัตรา 2 กระสอบ (50 ก.ก.) ต่อไร่ แล้วยกร่องทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ได้เลย

เตรียมท่อนพันธุ์
- ใช้ท่อนพันธุ์ที่อวบไม่เหล็กกว่าเหรียญ 5 และไม่ใช่ท่อนปลาย เพื่อจะได้ท่อนพันธุ์ที่มีอาหารเยอะและทนแล้ง
- แช่ท่อนพันธุ์ ด้วยปุ๋ยน้ำ ฮิ้ว 2 (10 cc) + เจซี 301 (5 cc) + แอคมี (10 cc) ต่อน้ำ 20 ลิตร เป็นเวลา 6 - 12 ชั่วโมง
- เมื่อเตรียมดินเสร็จแล้ว นำไปปักบนร่องที่เตรียมไว้ได้เลย และให้น้ำตามปกติ ตามสูตรที่ศึกษามาในแต่ละพื้นที่

บำรุงต้นพันธุ์
- พยายามอย่าปลูกถี่ ต้องให้พื้นที่ต้นได้ขยายตัวด้วย
- เมื่อปักท่อนพันธุ์แล้ว 2 วัน ให้ฉีดพ่นปุ๋ยน้ำ ฮิ้ว 2 (10 cc) + เจซี 301 (5 cc) ต่อน้ำ 20 ลิตร (อาจเพิ่มพลัส 1 10 cc ก็ได้ เพื่อบำรุงที่สุดยอด)
- ฉีดพ่น ปุ๋ยน้ำ ฮิ้ว 2 (10 cc) + เจซี 301 (5 cc) ต่อน้ำ 20 ลิตร (อาจเพิ่มพลัส 1 10 cc ก็ได้ เพื่อบำรุงที่สุดยอด) ทุกๆ 7 วัน และทุกๆ 1 เดือนให้ผสม แอคมี (20 cc) ลงไปด้วย จะได้ช่วยป้องกันเชื้อโรคในต้นมันสำปะหลัง ทำแบบนี้ไปจนครบ 2 เดือน
- ถ้าเกิดปัญหาเพลี้ยแสดงว่ามันสำปะหลังขาดน้ำ เพราะถ้ามีน้ำเพียงพอ ท่อน้ำเลี้ยงของมันสำปะหลังจะเปลี่ยนน้ำตาลเป็นสารไซยาไนด์ แมลงจะไม่มารบกวน
- เมื่อครบ 2 เดือนแล้วให้ใส่ปุ๋ยเจซี 633 (สีส้ม) ในอัตรา 1 - 2 กระสอบ ต่อไร่ แล้วปล่อยให้มันสำปะหลังหาอาหารกินเองตามธรรมชาติ
- รอเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เลย

หากเกิดปัญหาเชื้อโรคในต้นพันธุ์
- ให้ฉีดพ่นปุ๋ยน้ำ ฮิ้ว 2 (20 cc) + เจซี 301 (5 cc) + แอคมี (50 cc) ต่อน้ำ 20 ลิตร  (อาจเพิ่มพลัส 1 10 cc ก็ได้ เพื่อบำรุงที่สุดยอด)
- หว่านปุ๋ยเจซี 633 (สีส้ม) ต้นที่มีปัญหา 5 ขีดต่อต้น หรือ 1 กระสอบต่อไร่ (หากเกิดการระบาดยกแปลง)
- ช่วงรักษาต้นไม้จะทิ้งใบที่มีปัญหาออกไป แล้วแตกยอดใหม่
- หากเกิดแมลงศัตรูพืชรบกวน ให้ใช้วิธีดำเนินการตามสูตรที่ศึกษามาในแต่ละชนิดของแมลง

ปุ๋ยน้ำชีวภาพให้ทางใบ เป็นปุ๋ยที่พัฒนาสูตรโดยศึกษาจากธรรมชาติของต้นไม้  เพราะต้นไม้สามารถกินอาหารทางใบได้ด้วย และเป็นการย่นย่อระยะทาง การฉีดพ่นปุ๋ยน้ำทางใบจะทำให้ต้นไม้สามารถนำไปใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาดูดซึมอาหารจากรากขึ้นสู่ใบ ทำให้ต้นไม้สดชื่นไว เห็นผลเร็ว ทนแล้งทนหนาวได้ และแข็งแรงเติบโตดี เสมือนการให้น้ำเกลือแร่กับต้นไม้นั่นเอง 

This is the bottom slider area. You can edit this text and also insert any element here. This is a good place if you want to put an opt-in form or a scarcity countdown.