

นาข้าว นับเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศไทยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และเป็นเกษตรขนาดใหญ่ที่สำคัญมากในระดับประเทศเลยทีเดียว
สำหรับเกษตรกรที่ทำนาข้าว เขาก็อยากให้ข้าวที่ตนปลูกมีเมล็ดเยอะ มีน้ำหนัก มีคุณภาพและไม่มีศัตรูพืชมาทำลาย เพื่อจะได้จำหน่ายได้รายได้มากๆ

แต่อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริง เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ก็มักจะประสบปัญหามากมาย ทั้งศัตรูพืชเอง หรือสภาพอากาศ น้ำท่วม น้ำแล้ง หรือปัญหาเรื่องรายได้ไม่คุ้มปุ๋ย
ทำให้เกษตรกร จำเป็นต้องเสียเงิน เสียแรง และเสียเวลาที่จะแก้ไขปัญหานี้
หรือบางครั้งต้องขาดทุนจากการลงทุนปุ๋ยไปเสียด้วยซ้ำ
ซึ่งปัญหาที่อาจจะเกิดกับนาข้าวได้ ยกตัวอย่างเช่น
1. โรคเน่า เชื้อรา ใบด่าง ใบจุด - ส่วนมากแล้วปัญหานี้มักจะเกิดจาก
- ติดมากับพันธุ์เอง หรือเชื้อโรคมันก็มีอยู่ในดินอยู่แล้ว โดยเฉพาะแปลงที่มีการปลูกซ้ำๆ บ่อยๆ
- การใส่ปุ๋ยคอกที่ไม่ผ่านการหมัก เพราะปุ๋ยคอกเหล่านี้จะเป็นหลักสำคัญที่จะนำพาเชื้อรา เชื้อโรคมาสู่ดิน แม้การใส่ปุ๋ยคอกจะช่วยการปรับสภาพดิน แต่มันก็มาพร้อมกับหัวเชื้อโรคชั้นดีด้วย
- การใส่ปุ๋ยยูเรียเป็นระยะเวลาที่นาน ต้องยอมรับในทางการวิจัย พบว่า ปุ๋ยยูเรียที่ตกค้างอยู่ในดิน เป็นส่วนสำคัญทำให้ดินเปรี้ยว มีค่าเป็นกรดมากขึ้น (ลองเอาน้ำส้มคั้นสดผสมยูเรียแล้วชิมดู น้ำส้มที่กินจะมีความเปรี้ยวเพิ่มมากขึ้น)
ซึ่งการที่ดินมีค่าเป็นกรดก็จะส่งผลทำให้ดินละเอียดขึ้น แน่นขึ้นเหนียวขึ้น รากจึงเดินไม่ค่อยดี แก๊สในดินก็ระบายออกได้ยาก ไม่โปร่ง ส่งผลทำให้ดินแฉะนาน เป็นกรด ซึ่งข้าวแม้จะเป็นพืชที่ชอบน้ำ แต่ถ้าดินแน่นไป ก็หายใจไม่ออกเหมือนกันนะ นอกจากนี้ดินเป็นกรดก็ยังเป็นแหล่งเพาะเชื้อขยายพันธุ์ได้ดีของเชื้อโรคอีกด้วย
2. เพลี้ย แมลง เหตุการณ์นี้มักจะเกิดในช่วงต้นไม้อ่อนแอ หรือใส่ปุ๋ยยูเรียจนข้าวบ้าใบ ใบยาว เขียว แต่ใบบาง แมลงชอบเพราะกินง่าย ใบตกโค้งปิดเป็นโพรงที่อยู่อาศัยของแมลงได้ดีเลย ถ้าเกิดอาการนี้แล้วคงต้องแก้ตามอาการ แล้วงวดหน้าต้องลองใหม่

ข้าว แบ่งออกตามหลักใหญ่ๆ คือ ข้าวเหนียว กับ ข้าวจ้าว และสามารถแบ่งตามอายุขัยของต้นข้าวคือ ข้าวเบา - อายุ 90-120 วัน, ข้าวกลาง - อายุ 120-140 วัน และข้าวหนัก - อายุ 140 วันขึ้นไป นอกจากนี้ยังแบ่งตามประสิทธิภาพการออกรวงได้เป็น ข้าวนาปรัง คือ ข้าวที่ปลูกได้ตลอดทุกฤดูกาล มีอายุถึงระยะก็สามารถออกรวงได้ กับ ข้าวนาปี คือ ข้าวที่ปลูกได้ปีละครั้ง เพราะมันจะออกร่วงตามฤดูกาลเท่านั้น คือช่วงเดือน สิงหาคม - กันยายน หากปลูกฤดูอื่น จะไม่ออกรวง หรือเมล็ดลีบ
สำหรับการทำนาจะมีวิธีการดังนี้
1. นาหว่าน คือ การหว่านเมล็ดข้าวที่ไถไว้แล้วรอฝนตกลงมา หรือเรียกอีกชื่อว่า หว่านหวังผลตามดวง ซึ่งการทำนาวิธีการนี้มักจะมีปัญหาเรื่องหญ้าวัชพืช
2. นาหว่านดินตม คือ การไถทำเทือก แช่หมักข้าว 2 คืน แล้วนำมาหว่าน 30 ก.ก. ต่อไร่ จุดเด่นคือ เน้นได้ต้นมาก แต่เมล็ดผลผลิตจะเล็กไม่ค่อยได้น้ำหนัก เพราะข้าวแย่งกันโต
3. นาดำ คือ เพาะต้นกล้า แล้วถอนมาดำในนาที่มีน้ำ ข้อดีคือเป็นระเบียบ หญ้าไม่ขึ้น เพราะมีน้ำท่วงขัง ข้อเสีย คือ การถอนมาเสียบ ทำให้รากขาด ข้าวชะงักการเติบโต ฟื้นตัวช้า โดยเฉพาะถ้าดำนาด้วยการเสียไปตรงๆ รากจะโค้งขึ้นเป็นตัว U ทำให้ฟื้นตัวได้ช้า ผลผลิตจึงน้อย
4. นาโยน คือ เพาะต้นกล้าในหลุมพลาสติก เมื่อเริ่มโตก็เอาต้นกล้าพร้อมดินปลูกไปโยนๆ ลงในแปลงนาที่มีน้ำขัง ข้อดีคือ ประหยัด รากไม่ถูกกระทบกระเทือนมาก หญ้าไม่ค่อยรบกวน แตกกอดีกว่านาดำ ข้อเสียคือ ใช้เวลามากที่การหยอดเพาะ แถมในหนึ่งหลุมประกอบด้วยหลายต้น พอโยน ต้นพวกนั้นจะชิดและแย่งอาหารกัน
5. นาเหยาะ คือ การเอาเมล็ดพันธุ์มาแช่หมัก 2 คืน นำขึ้นแล้วห่มในผ้าอีก 1 คืน จะมีรากงอกออกมา จากนั้นปรับที่ น้ำขลุกขลิก ขึ้นเชือกทำเหมือนนาดำเลย แล้วสะพายกระบุงห่มต้นพันธุ์แล้วเดินหยอด ข้อดีที่ง่าย 1 คนสามารถทำได้ประมาณ 3 ไร่/วัน ไม่ต้องถอน รากไม่ถูกกระทบกระเทือน การเติบโตไม่สะดุดไม่เสียเวลาฟื้นตัว แถมต้นพันธุ์ไม่กระจุกด้วย เติบโตได้เต็มที่ จึงนับว่าเป็นนวัตกรรมที่น่าทำที่สุดแล้ว
***ลองศึกษาข้อมูลวิธีการทำแบบละเอียดดูอีกทีนะครับ
ปล. หากพี่น้องชาวนาอยากพัฒนาธุรกิจเกษตรข้าวให้เติบโตไปมากว่านี้ ต้องสร้างผลิตภัณฑ์ที่สร้างกำหนดราคาข้าวได้ด้วยตัวเราเอง ด้วยการข้าวที่ตลาดต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ข้าวไรเบอรี่ ข้าวหอมช่อราตรี เป็นต้น สีขายเอง และใช้ปุ๋ยเครือ Join&Coin อย่างจริงจัง อาจจะเป็นสิ่งที่ใหม่ที่ไม่คุ้น แต่ผลลัพธ์เรื่องรายได้จะเปลี่ยนไป
แต่หากยังคงทำเหมือนเดิม ผลลัพธ์ก็คงไม่แตกต่างจากฤดูกาลก่อนๆ นั่นเอง
จริงๆ ข้าวไม่ใช่พืชที่ปลูกได้เฉพาะในน้ำ น้ำท่วมดินนะครับ มันสามารถปลูกได้ทุกที่ที่มีความชื้นเพียงพอเหมือนต้นไม้อื่นๆ เพียงแค่ข้าวสามารถดึงออกซิเจนและปรุงอาหารได้จากที่รากด้วย จึงทำให้ข้าวสามารถปลูกในน้ำได้ เท่านั้นเอง







ถ้าข้าวหนัก ให้ใส่ปุ๋ยเยอะหน่อยเพราะอายุมาก ต้องใช้อาหารมาก
ถ้าข้าวเบา ให้ใส่ปุ๋ยน้อยแต่บ่อย เพราะมีอายุน้อยต้องเร่งโต

เตรียมดินเริ่มต้นฤดูกาล
- ปรับสภาพดินให้พร้อมต่อการเพาะปลูก ด้วยการหว่านปุ๋ยเจซี 633 (สีส้ม) ให้ทั่วแปลง ในอัตรา 2 กระสอบ (50 ก.ก.) ต่อไร่ ทิ้งไว้ 1 เดือน (โดยเฉพาะแปลงที่เคยใช้ปุ๋ยเคมีมาโดยตลอด) เพื่อซักดิน ปรับภาพความเป็นกรดด่าง ฆ่าเชื้อโรค
- ไถทำเทือกตามสูตรที่ศึกษามาในแต่ละพื้นที่ หว่าน ปุ๋ยเจซี 633 (สีส้ม) ให้ทั่วแปลง ในอัตรา 1 กระสอบ (25 ก.ก.) ต่อไร่ แล้วลงเมล็ดพันธุ์หรือต้นพันธุ์ไปพร้อมกันได้เลย
- แต่ถ้าฤดูกาลก่อนเคยใช้ปุ๋ยเจซี 633 (สีส้ม) ให้หว่านปุ๋ยเจซี 633 (สีส้ม) ให้ทั่วแปลง ในอัตรา 2 กระสอบ (50 ก.ก.) ต่อไร่ แล้วไถได้เลย

เตรียมเมล็ดพันธุ์ ต้นพันธุ์
- ใช้เมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ แช่พันธุ์ ด้วยปุ๋ยน้ำ ฮิ้ว 1 (10 cc) + เจซี 301 (5 cc) + แอคมี (10 cc) ต่อน้ำ 20 ลิตร เป็นเวลา 6 ชั่วโมง และแช่น้ำบอระเพ็ดอีก 1 ชั่วโมงเพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืชขโมยเมล็ดพันธุ์ไปกิน
- นำไปหว่านในแปลงนา หรือเพาะพันธุ์ในถุงอนุบาลได้เลย ตามสูตรที่ศึกษามาในแต่ละวิธีการทำนา เมื่อได้อายุแล้วก็นำลงแปลงนาได้เลย

อนุบาลต้นกล้าข้าว
- ต้นข้าวจะกินปุ๋ยเมื่ออายุครบ 18 วันแล้ว
- เมื่อข้าวอายุครบ 18 วัน ให้ฉีดพ่นปุ๋ยน้ำ ฮิ้ว 1 (10 cc) + เจซี 301 (5 cc) ต่อน้ำ 20 ลิตร (อาจเพิ่มพลัส 1 10 cc ก็ได้ เพื่อบำรุงที่สุดยอด) ถ้าเป็นนาดำ นาโยน นาเหยาะ เมื่อลงกล้าพันธุ์ลงแปลงแล้ว 2 วัน สามารถฉีดพ่นปุ๋ยน้ำได้เลย
- ให้ฉีดพ่น ปุ๋ยน้ำ ฮิ้ว 1 (10 cc) + เจซี 301 (5 cc) ต่อน้ำ 20 ลิตร (อาจเพิ่มพลัส 1 10 cc ก็ได้ เพื่อบำรุงที่สุดยอด) ทุกๆ 7 วัน หรือทุกๆ 14 วัน และทุกๆ 1 เดือนให้ผสม แอคมี (20 cc) ลงไปด้วย จะได้ช่วยป้องกันเชื้อโรคในต้นข้าว ทำแบบนี้ไปจนถึงช่วงก่อนข้าวเริ่มออกดอก
- 15 วัน ก่อนต้นข้าวจะออกดอกตั้งท้อง ให้ฉีดพ่นปุ๋ยน้ำ ฮิ้ว 1 (10 cc) + เอฟพลัส (5 cc) ต่อน้ำ 20 ลิตร (อาจเพิ่มพลัส 2 10 cc ก็ได้ เพื่อบำรุงที่สุดยอด) 1 ครั้ง เพื่อกระตุ้นการออกรวงให้สมบูรณ์
- เมื่อต้นข้าวออกดอก งดให้ปุ๋ยทุกชนิด

ช่วงข้าวผสมพันธุ์เสร็จ ติดรวง
- ให้หว่านปุ๋ยเจซี 633 (สีส้ม) ให้ทั่วแปลง ในอัตรา 1-2 กระสอบ ต่อไร่
- ฉีดพ่น ปุ๋ยน้ำ ฮิ้ว 1 (10 cc) + เอฟพลัส (5 cc) ต่อน้ำ 20 ลิตร (อาจเพิ่มพลัส 2 10 cc ก็ได้ เพื่อบำรุงที่สุดยอด) ทุกๆ 7 วัน หรือทุกๆ 14 วัน และทุกๆ 1 เดือนให้ผสม แอคมี (20 cc) ลงไปด้วย จะได้ช่วยป้องกันเชื้อโรคในต้นข้าว ทำแบบนี้ไปจนถึงช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต

- ช่วงกล้าข้าวงอกให้หว่านถั่วเหลืองหรือถั่วเขียวที่แช่เมล็ดพันธุ์มา 2 คืน ให้ทั่วแปลงข้าว ไร่ละ 3 ก.ก. ให้งอกคู่กับข้าว เพื่อให้รากถั่วช่วยตรึงไนโตรเจนและเพิ่มแคลเซียมลงในดิน แทนการใช้ปุ๋ยยูเรีย
- เมื่อข้าวอายุ 20-30 วัน (ยาวสัก 1 ฟุต) ให้ปล่อยน้ำเข้านาสัก 5 - 6 นิ้วท่วมต้นถั่วให้ตายกลายเป็นปุ๋ย เร่งโต เขียว ลดศัตรูพืช
- จากนั้นนำ แหนแดง มาลงไร่ละ 5 ก.ก. ให้ลอยคลุมหน้าผิวน้ำกันหญ้างอก และจะช่วยรักษาอุญหภูมิในน้ำให้ต้นข้าวด้วย

เทคนิคเพิ่มรากข้าว/แก้เพลี้ยกระโดด
- เตรียมกระบอกท่อ PVC ปิดหัวแล้วเจาะรูรอบ ยาวสัก 7 นิ้ว แล้วกดลงดินให้ปากท่อเสมอดิน
- ขุดบ่อในจุดที่ไม่มีข้าวขึ้นให้ลึกประมาณ 1 ฟุต เอาตาข่ายไปวางคลุมหลุมแล้วเอามะละกอดิบไปใส่ในหลุมนั้น เพื่อดักหอยเชอรี่
- ปล่อยน้ำออกจากนาให้หมด แหนแดงจะปกคลุมผิวดิน ต้นที่ตายก็จะกลายเป็นปุ๋ยชั้นดี ต้นที่เป็นก็ป้องกันหญ้างอก
- เมื่อปล่อยน้ำออก หอยเชอรี่ก็จะลอยตัวบนผิวน้ำขึ้นไปกินก้านข้าวไม่ได้ มันหันไปหาพื้นที่น้ำในบ่อที่ขุดไว้ และไปกินมะละกอในหลุมที่เตรียมไว้
- เมื่อปล่อยน้ำออก เพลี้ยกระโดดก็จะลอยตัวบนผิวน้ำไปกินก้านใบไม่ได้
- ปล่อยทิ้งไว้ให้น้ำในกระบอกท่อ PVC ลดระดับจนถึงพื้นท่อ ก็ทำการรวบตาข่ายจับหอยเชอรี่ขึ้นจากแปลงนาไปทำประโยชน์อื่นๆ และปล่อยน้ำเข้านาทันที
- วิธีนี้เป็นการบังคับให้น้ำลงต่ำไปอยู่เฉพาะใต้ดิน ทำให้บังคับข้าวให้ต้องสร้างรากยาวขึ้นและดิ่งลงเพื่อไปให้น้ำใต้ดิน ส่งผลให้รากข้าวยาวดิ่งเกิดความมั่นคง หาอาหารได้มากขึ้น ใบตั้ง ต้นตั้ง ขนเยอะ แข็งแรง และกระตุ้นแตกกอได้มากขึ้น เมื่อเราปล่อยน้ำเข้านา ข้าวก็จะเร่งการกินอาหารมากขึ้น ข้าวจึงโตไว และแมลงจะไม่ชอบมาวางไข่

เทคนิคกำจัดหอยเชอรี่
- เมื่อเราทำนา ให้เราขุดหลุมกว้างๆ ไว้กลางนา
- เอาตาข่ายปูบนพื้นที่ได้ขุดไว้
- เอาลูกมะละกอดิบมาใส่ไว้ในหลุม
- จากนั้นหอยเชอรี่จะยกทีมมากินลูกมะละกอ พอได้ทีแล้วให้เรายกตาข่ายจับหอยเชอรีออกจากนาได้เลย จะเอาไปทำปุ๋ยชีวภาพ หรือทำเป็นอาหารก็ได้
- ส่วนไข่หอยเชอรี่หากพบให้เอาออกแล้วทิ้งลงน้ำไปเลย เพราะไข่หอยจะไม่ฟักตัวในน้ำ และมันจะเน่าตายไปเอง

หากเกิดปัญหาเชื้อโรคในต้นพันธุ์
- ให้ฉีดพ่นปุ๋ยน้ำ ฮิ้ว 2 (20 cc) + เจซี 301 (5 cc) + แอคมี (50 cc) ต่อน้ำ 20 ลิตร (อาจเพิ่มพลัส 1 10 cc ก็ได้ เพื่อบำรุงที่สุดยอด)
- หว่านปุ๋ยเจซี 633 (สีส้ม) 1 กระสอบต่อไร่
- ช่วงรักษาต้นไม้จะทิ้งใบที่มีปัญหาออกไป แล้วแตกยอดใหม่
- หากเกิดแมลงศัตรูพืชรบกวน ให้ใช้วิธีดำเนินการตามสูตรที่ศึกษามาในแต่ละชนิดของแมลง

ปุ๋ยน้ำชีวภาพให้ทางใบ เป็นปุ๋ยที่พัฒนาสูตรโดยศึกษาจากธรรมชาติของต้นไม้ เพราะต้นไม้สามารถกินอาหารทางใบได้ด้วย และเป็นการย่นย่อระยะทาง การฉีดพ่นปุ๋ยน้ำทางใบจะทำให้ต้นไม้สามารถนำไปใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาดูดซึมอาหารจากรากขึ้นสู่ใบ ทำให้ต้นไม้สดชื่นไว เห็นผลเร็ว ทนแล้งทนหนาวได้ และแข็งแรงเติบโตดี เสมือนการให้น้ำเกลือแร่กับต้นไม้นั่นเอง



