ข้าวโพด นับเป็นพืชเศรษฐกิจของไทย ที่เกษตรกรนิยมปลูกเป็นพืชไร่ 
ไม่ว่าจะเป็นข้าวโพดอาหารสัตว์ หรือข้าวโพดหวาน ก็ตาม

สำหรับเกษตรกรที่ทำไร่ข้าวโพด เขาก็อยากให้ผลผลิตข้าวโพดที่ตนปลูกมีฝักเต็มที่สมบูรณ์ เมล็ดเยอะ มีน้ำหนัก มีคุณภาพและไม่มีศัตรูพืชมาทำลาย เพื่อจะได้จำหน่ายได้รายได้มากๆ

แต่อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริง เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด ก็มักจะประสบปัญหามากมาย ทั้งศัตรูพืชเอง หรือสภาพอากาศ น้ำท่วม น้ำแล้ง หรือปัญหาเรื่องรายได้ไม่คุ้มปุ๋ย
ทำให้เกษตรกร จำเป็นต้องเสียเงิน เสียแรง และเสียเวลาที่จะแก้ไขปัญหานี้
หรือบางครั้งต้องขาดทุนจากการลงทุนปุ๋ยไปเสียด้วยซ้ำ

ซึ่งปัญหาที่อาจจะเกิดกับข้าวโพดได้ ยกตัวอย่างเช่น
1. โรคเน่า เชื้อรา ใบด่าง ใบจุด - ส่วนมากแล้วปัญหานี้มักจะเกิดจาก
- ติดมากับพันธุ์เอง หรือเชื้อโรคมันก็มีอยู่ในดินอยู่แล้ว โดยเฉพาะแปลงที่มีการปลูกซ้ำๆ บ่อยๆ
- การใส่ปุ๋ยคอกที่ไม่ผ่านการหมัก เพราะปุ๋ยคอกเหล่านี้จะเป็นหลักสำคัญที่จะนำพาเชื้อรา เชื้อโรคมาสู่ดิน แม้การใส่ปุ๋ยคอกจะช่วยการปรับสภาพดิน แต่มันก็มาพร้อมกับหัวเชื้อโรคชั้นดีด้วย
- การใส่ปุ๋ยยูเรียเป็นระยะเวลาที่นาน ต้องยอมรับในทางการวิจัย พบว่า ปุ๋ยยูเรียที่ตกค้างอยู่ในดิน เป็นส่วนสำคัญทำให้ดินเปรี้ยว มีค่าเป็นกรดมากขึ้น (ลองเอาน้ำส้มคั้นสดผสมยูเรียแล้วชิมดู น้ำส้มที่กินจะมีความเปรี้ยวเพิ่มมากขึ้น) 
ซึ่งการที่ดินมีค่าเป็นกรดก็จะส่งผลทำให้ดินละเอียดขึ้น แน่นขึ้นเหนียวขึ้น รากจึงเดินไม่ค่อยดี แก๊สในดินก็ระบายออกได้ยาก ไม่โปร่ง ส่งผลทำให้ดินแฉะนาน เป็นกรด ซึ่งข้าวโพดไม่ชอบดินแฉะ ถ้าดินแน่นไป ก็หายใจไม่ออก นอกจากนี้ดินเป็นกรดก็ยังเป็นแหล่งเพาะเชื้อขยายพันธุ์ได้ดีของเชื้อโรคอีกด้วย

2. เพลี้ย แมลง เหตุการณ์นี้มักจะเกิดในช่วงต้นไม้อ่อนแอ หรือใส่ปุ๋ยยูเรียจนข้าวโพดบ้าใบ ใบยาว เขียว แต่ใบบาง แมลงชอบเพราะกินง่าย ใบตกโค้งปิดเป็นโพรงที่อยู่อาศัยของแมลงได้ดีเลย ถ้าเกิดอาการนี้แล้วคงต้องแก้ตามอาการ แล้วงวดหน้าต้องลองใหม่

เตรียมดินเริ่มต้นฤดูกาล
- ปรับสภาพดินให้พร้อมต่อการเพาะปลูก ด้วยการ หว่านปุ๋ยเจซี 633 (สีส้ม) ให้ทั่วแปลง ในอัตรา 2 กระสอบ (50 ก.ก.) ต่อไร่ ทิ้งไว้ 1 เดือน (โดยเฉพาะแปลงที่เคยใช้ปุ๋ยเคมีมาโดยตลอด) เพื่อซักดิน ปรับภาพความเป็นกรดด่าง ฆ่าเชื้อโรค
- ยกร่อง เป็นเนินหลังเต่าตามสูตรที่ศึกษามาในแต่ละพื้นที่ หว่าน ปุ๋ยเจซี 633 (สีส้ม) ให้ทั่วแปลง ในอัตรา 1 กระสอบ (25 ก.ก.) ต่อไร่ ทิ้งไว้ 1 สัปดาห์
- แต่ถ้าฤดูกาลก่อนเคยใช้ปุ๋ยเจซี 633 (สีส้ม) ให้หว่านปุ๋ยเจซี 633 (สีส้ม) ให้ทั่วแปลง ในอัตรา 2 กระสอบ (50 ก.ก.) ต่อไร่ แล้วยกร่องทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ได้เลย

เตรียมเมล็ดพันธุ์ ต้นพันธุ์
- ใช้เมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ แช่พันธุ์ ด้วยปุ๋ยน้ำ ฮิ้ว 1 (10 cc) + เจซี 301 (5 cc) + แอคมี (10 cc) ต่อน้ำ 20 ลิตร เป็นเวลา 6 ชั่วโมง และแช่น้ำบอระเพ็ดอีก 1 ชั่วโมงเพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืชขโมยเมล็ดพันธุ์ไปกิน
- นำไปหว่านในแปลงไร่ หรือเพาะพันธุ์ในถุงอนุบาลได้เลย ตามสูตรที่ศึกษามาในแต่ละวิธีการทำไร่ เมื่อได้อายุแล้วก็นำลงในแปลงไร่ได้เลย

อนุบาลต้นกล้าข้าวโพด
- ให้ฉีดพ่นปุ๋ยน้ำ ฮิ้ว 1 (10 cc) + เจซี 301 (5 cc) ต่อน้ำ 20 ลิตร (อาจเพิ่มพลัส 1 10 cc ก็ได้ เพื่อบำรุงที่สุดยอด) ทุกๆ 7 วัน หรือทุกๆ 14 วัน และทุกๆ 1 เดือนให้ผสม แอคมี (20 cc) ลงไปด้วย จะได้ช่วยป้องกันเชื้อโรคในต้นข้าวโพด ทำแบบนี้ไปจนถึงช่วงก่อนข้าวโพดเริ่มออกดอก
- 15 วัน ก่อนต้นข้าวโพดจะออกดอก ให้ฉีดพ่นปุ๋ยน้ำ ฮิ้ว 1 (10 cc) + เอฟพลัส (5 cc) ต่อน้ำ 20 ลิตร (อาจเพิ่มพลัส 2 10 cc ก็ได้ เพื่อบำรุงที่สุดยอด) 1 ครั้ง เพื่อกระตุ้นการออกดอกให้สมบูรณ์
- เมื่อต้นข้าวโพดออกดอก งดให้ปุ๋ยทุกชนิด 

ช่วงข้าวโพดผสมพันธุ์เสร็จแล้ว
- ให้หว่านปุ๋ยเจซี 633 (สีส้ม) ให้ทั่วแปลง ในอัตรา 1-2 กระสอบ ต่อไร่
- ฉีดพ่น ปุ๋ยน้ำ ฮิ้ว 1 (10 cc) + เอฟพลัส (5 cc) ต่อน้ำ 20 ลิตร (อาจเพิ่มพลัส 2 10 cc ก็ได้ เพื่อบำรุงที่สุดยอด) ทุกๆ 7 วัน หรือทุกๆ 14 วัน และทุกๆ 1 เดือนให้ผสม แอคมี (20 cc) ลงไปด้วย จะได้ช่วยป้องกันเชื้อโรคในต้นข้าวโพด ทำแบบนี้ไปจนถึงช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต 

หากเกิดปัญหาเชื้อโรคในต้นพันธุ์
- ให้ฉีดพ่นปุ๋ยน้ำ ฮิ้ว 2 (20 cc) + เจซี 301 (5 cc) + แอคมี (50 cc) ต่อน้ำ 20 ลิตร  (อาจเพิ่มพลัส 1 10 cc ก็ได้ เพื่อบำรุงที่สุดยอด)
- หว่านปุ๋ยเจซี 633 (สีส้ม) 1 กระสอบต่อไร่
- ช่วงรักษาต้นไม้จะทิ้งใบที่มีปัญหาออกไป แล้วแตกยอดใหม่
- หากเกิดแมลงศัตรูพืชรบกวน ให้ใช้วิธีดำเนินการตามสูตรที่ศึกษามาในแต่ละชนิดของแมลง

ปุ๋ยน้ำชีวภาพให้ทางใบ เป็นปุ๋ยที่พัฒนาสูตรโดยศึกษาจากธรรมชาติของต้นไม้  เพราะต้นไม้สามารถกินอาหารทางใบได้ด้วย และเป็นการย่นย่อระยะทาง การฉีดพ่นปุ๋ยน้ำทางใบจะทำให้ต้นไม้สามารถนำไปใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาดูดซึมอาหารจากรากขึ้นสู่ใบ ทำให้ต้นไม้สดชื่นไว เห็นผลเร็ว ทนแล้งทนหนาวได้ และแข็งแรงเติบโตดี เสมือนการให้น้ำเกลือแร่กับต้นไม้นั่นเอง

This is the bottom slider area. You can edit this text and also insert any element here. This is a good place if you want to put an opt-in form or a scarcity countdown.