มังคุด นับเป็นผลไม้ที่อร่อยมาก ใครๆ ก็ชอบกิน แถมมีประโยชน์มากมาย
จึงได้ชื่อว่า "ราชินีแห่งผลไม้ไทย" ซึ่งเกษตรกรนิยมปลูกกันมากๆ และตลาดก็มีความต้องการสูง ไม่ว่าจะเป้ฯพันธุ์ไหนก็ตาม 

สำหรับเกษตรกรที่ปลูกมังคุด เขาก็อยากให้มีผลมังคุดที่ตนปลูกมีผลที่สมบูรณ์ ได้ลูกเยอะ มีน้ำหนัก มีคุณภาพ เนื้อขาวสวย ไม่เป็นยางไม่เป็นแก้ว และไม่มีเชื้อโรค หรือศัตรูพืชมาทำลาย เพื่อจะได้จำหน่ายได้รายได้มากๆ

แต่อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริง เกษตรกรก็มักจะประสบปัญหามากมาย ทั้งศัตรูพืชเอง เชื้อโรค หรือสภาพอากาศ น้ำท่วม น้ำแล้ง หรือปัญหาเรื่องรายได้ไม่คุ้มปุ๋ย
ทำให้เกษตรกร จำเป็นต้องเสียเงิน เสียแรง และเสียเวลาที่จะแก้ไขปัญหานี้
หรือบางครั้งต้องขาดทุนจากการลงทุนปุ๋ยไปเสียด้วยซ้ำ

ซึ่งปัญหาที่อาจจะเกิดกับมังคุดได้ ยกตัวอย่างเช่น
1. โรคเน่า เชื้อรา ใบด่าง ใบจุด - ส่วนมากแล้วปัญหานี้มักจะเกิดจาก
- ติดมากับพันธุ์เอง หรือเชื้อโรคมันก็มีอยู่ในดินอยู่แล้ว โดยเฉพาะแปลงที่มีการปลูกซ้ำๆ บ่อยๆ
- การใส่ปุ๋ยคอกที่ไม่ผ่านการหมัก เพราะปุ๋ยคอกเหล่านี้จะเป็นหลักสำคัญที่จะนำพาเชื้อรา เชื้อโรคมาสู่ดิน แม้การใส่ปุ๋ยคอกจะช่วยการปรับสภาพดิน แต่มันก็มาพร้อมกับหัวเชื้อโรคชั้นดีด้วย
- การใส่ปุ๋ยยูเรียเป็นระยะเวลาที่นาน ต้องยอมรับในทางการวิจัย พบว่า ปุ๋ยยูเรียที่ตกค้างอยู่ในดิน เป็นส่วนสำคัญทำให้ดินเปรี้ยว มีค่าเป็นกรดมากขึ้น (ลองเอาน้ำส้มคั้นสดผสมยูเรียแล้วชิมดู น้ำส้มที่กินจะมีความเปรี้ยวเพิ่มมากขึ้น) เหมาะกับการเติบโตของเชื้อโรค คนสมัยก่อนจึงต้องแก้ด้วยปูนขาว (ด่าง) ปูนขาวไม่ได้ทำให้เชื้อตาย แต่ทำให้ดินตัดกรดด้วยด่าง เชื้อโรคจะไม่แพร่เพิ่ม
ซึ่งการที่ดินมีค่าเป็นกรดก็จะส่งผลทำให้ดินละเอียดขึ้น แน่นขึ้นเหนียวขึ้น รากจึงเดินไม่ค่อยดี แก๊สในดินก็ระบายออกได้ยาก ไม่โปร่ง ส่งผลทำให้ดินแฉะนาน เป็นกรด ซึ่งต้นไม้ส่วนมากไม่ชอบดินแฉะ ถ้าดินแน่นไป ก็หายใจไม่ออก นอกจากนี้ดินเป็นกรดก็ยังเป็นแหล่งเพาะเชื้อขยายพันธุ์ได้ดีของเชื้อโรคอีกด้วย และยังทำให้มังคุดเป็นยางเป็นแก้วสูงมาก

2. เพลี้ย แมลง เหตุการณ์นี้มักจะเกิดในช่วงต้นไม้อ่อนแอ หรือใส่ปุ๋ยยูเรียจนต้นไม้บ้าใบ ใบยาว เขียว แต่ใบบาง แมลงชอบเพราะกินง่าย ใบตกโค้งปิดเป็นโพรงที่อยู่อาศัยของแมลงได้ดีเลย ถ้าเกิดอาการนี้แล้วคงต้องแก้ตามอาการ แล้วงวดหน้าต้องลองใหม่

เตรียมดินเริ่มต้นฤดูกาล
- ปรับสภาพดินให้พร้อมต่อการเพาะปลูก ด้วยการหว่านปุ๋ยเจซี 633 (สีส้ม) ให้ทั่วแปลง ในอัตรา 2 กระสอบ (50 ก.ก.) ต่อไร่ ทิ้งไว้ 1 เดือน (โดยเฉพาะแปลงที่เคยใช้ปุ๋ยเคมีมาโดยตลอด) เพื่อซักดิน ปรับภาพความเป็นกรดด่าง ฆ่าเชื้อโรค
- ยกร่อง เป็นเนินหลังเต่าตามสูตรที่ศึกษามาในแต่ละพื้นที่ หว่านปุ๋ยเจซี 633 (สีส้ม) ให้ทั่วแปลง ในอัตรา 1 กระสอบ (25 ก.ก.) ต่อไร่ ทิ้งไว้ 1 สัปดาห์
- แต่ถ้าฤดูกาลก่อนเคยใช้ปุ๋ยเจซี 633 (สีส้ม) ให้หว่านปุ๋ยเจซี 633 (สีส้ม) ให้ทั่วแปลง ในอัตรา 2 กระสอบ (50 ก.ก.) ต่อไร่ แล้วยกร่องทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ได้เลย
- หากปลูกเป็นรายต้น ให้พูนดินขึ้นโคก ผสมปุ๋ยเจซี 633 (สีส้ม) 1 ก.ก. ต่อหลุม คลุกกับดินให้เข้ากันทิ้งไว้ 1 เดือน เมื่อลงต้นพันธุ์แล้วให้หว่านปุ๋ยเจซี 633 (สีส้ม) 5 ขีดต่อต้น

บำรุงต้นพันธุ์
- ใช้ต้นพันธุ์ทรงพุ่ม ปลูกบนโคก ไม่ต้องรองก้นหลุม ลงต้นพันธุ์ช่วงเวลาเย็นๆ เพื่อป้องกันใบไหมจากแสงแดด
- หากยังอนุบาลในถุงอนุบาลให้ใส่ปุ๋ยเจซี 633 (สีส้ม) ครึ่งช้อนชาต่อต้น และฉีดพ่นปุ๋ยน้ำ ฮิ้ว 2 (10 cc) + เจซี 301 (5 cc) ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุกๆ 7 วัน
- ตัดแต่งใบกิ่ง ทำให้โคนโล่งโปร่งไม่อับชื้น งดปุ๋ยมูลสัตว์ทุกชนิด
- รดน้ำช่วงเช้า หรือวันเว้นวัน ขึ้นอยู่กับความชื้น/แล้งของแต่ละแปลง เพราะต้นไม้นี้ชอบชื้นแต่ไม่ชอบแฉะ อับชื้น อย่าให้น้ำขังโคน
- เมื่อลงต้นพันธุ์แล้ว 2 วัน ให้ฉีดพ่นปุ๋ยน้ำ ฮิ้ว 2 (10 cc) + เจซี 301 (5 cc) ต่อน้ำ 20 ลิตร (อาจเพิ่มพลัส 1 10 cc ก็ได้ เพื่อบำรุงที่สุดยอด) ทุกๆ 7 วัน และทุกๆ 1 เดือนให้ผสม แอคมี (20 cc) ลงไปด้วย จะได้ช่วยป้องกันเชื้อโรคในต้นไม้
- ใส่ปุ๋ยเจซี 633 (สีส้ม) ในอัตรา 1-3 ก.ก. ต่อต้น (ขึ้นอยู่กับอายุของต้นไม้) ทุกๆ  3 เดือน

บำรุงต้นช่วงออกดอกผล
- 1 เดือนก่อนออกดอกให้หว่านปุ๋ยเจซี 633 (สีส้ม) ในอัตรา 1-3 ก.ก. ต่อต้น (ขึ้นอยู่กับอายุของต้นไม้)
- 1 เดือนก่อนออกดอก ฉีดพ่น ปุ๋ยน้ำ ฮิ้ว 2 (10 cc) + เอฟพลัส (5 cc) ต่อน้ำ 20 ลิตร (อาจเพิ่มพลัส 2 10 cc ก็ได้ เพื่อบำรุงที่สุดยอด) ทุกๆ 7 วัน หรือทุกๆ 14 วัน และทุกๆ 1 เดือนให้ผสม แอคมี (20 cc) ลงไปด้วย จะได้ช่วยป้องกันเชื้อโรคในต้นไม้ ทำแบบนี้ไปจนถึงช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต 
- ช่วงดอกกำลังผสมพันธุ์ให้งดฉีด เมื่อดอกผสมเกสรเสร็จแล้ว ให้ฉีดพ่นปุ๋ยน้ำต่อไป จนถึงช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต

เมื่อเก็บผลผลิตเรียบร้อยแล้ว
- ให้ลิดก้านรานใบออกบ้าง เพื่อให้ต้นไม้แตกยอดใหม่ใบสาวเพื่อเตรียมออกผลผลิตในฤดูกาลต่อไป
- ให้ฉีดพ่นปุ๋ยน้ำ ฮิ้ว 2 (20 cc) + เจซี 301 (5 cc) + แอคมี (50 cc) ต่อน้ำ 20 ลิตร  (อาจเพิ่มพลัส 1 10 cc ก็ได้ เพื่อบำรุงที่สุดยอด)
- ใส่ปุ๋ยเจซี 633 (สีส้ม) ในอัตรา 1-3 ก.ก. ต่อต้น (ขึ้นอยู่กับอายุของต้นไม้)

หากเกิดปัญหาเชื้อโรคในต้นพันธุ์
- ให้ฉีดพ่นปุ๋ยน้ำ ฮิ้ว 2 (20 cc) + เจซี 301 (5 cc) + แอคมี (50 cc) ต่อน้ำ 20 ลิตร  (อาจเพิ่มพลัส 1 10 cc ก็ได้ เพื่อบำรุงที่สุดยอด)
- หว่านปุ๋ยเจซี 633 (สีส้ม) ในอัตรา 1-3 ก.ก. ต่อต้น (ขึ้นอยู่กับอายุของต้นไม้)
- ช่วงรักษาต้นไม้จะทิ้งใบที่มีปัญหาออกไป แล้วแตกยอดใหม่
- หากเกิดแมลงศัตรูพืชรบกวน ให้ใช้วิธีดำเนินการตามสูตรที่ศึกษามาในแต่ละชนิดของแมลง

ปุ๋ยน้ำชีวภาพให้ทางใบ เป็นปุ๋ยที่พัฒนาสูตรโดยศึกษาจากธรรมชาติของต้นไม้  เพราะต้นไม้สามารถกินอาหารทางใบได้ด้วย และเป็นการย่นย่อระยะทาง การฉีดพ่นปุ๋ยน้ำทางใบจะทำให้ต้นไม้สามารถนำไปใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาดูดซึมอาหารจากรากขึ้นสู่ใบ ทำให้ต้นไม้สดชื่นไว เห็นผลเร็ว ทนแล้งทนหนาวได้ และแข็งแรงเติบโตดี เสมือนการให้น้ำเกลือแร่กับต้นไม้นั่นเอง

This is the bottom slider area. You can edit this text and also insert any element here. This is a good place if you want to put an opt-in form or a scarcity countdown.