กล้วยไม้ นับเป็นไม้ดอกที่ผู้คนนิยมปลูกกันมากๆ
ซึ่งเกษตรกรก็นิยมปลูกเพาะพันธุ์ขยายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นพันธุ์อะไรตาม

สำหรับเกษตรกรที่ปลูกกล้วยไม้ เขาก็อยากให้ต้นพันธุ์ออกดอกสวยงาม สมบูรณ์ มีคุณภาพ และไม่มีเชื้อโรค หรือศัตรูพืชมาทำลาย เพื่อจะได้จำหน่ายได้รายได้มากๆ

แต่อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริง เกษตรกรก็มักจะประสบปัญหามากมาย ทั้งศัตรูพืชเอง เชื้อโรค หรือสภาพอากาศ น้ำท่วม น้ำแล้ง หรือปัญหาเรื่องรายได้ไม่คุ้มปุ๋ย
ทำให้เกษตรกร จำเป็นต้องเสียเงิน เสียแรง และเสียเวลาที่จะแก้ไขปัญหานี้
หรือบางครั้งต้องขาดทุนจากการลงทุนปุ๋ยไปเสียด้วยซ้ำ

ซึ่งปัญหาที่อาจจะเกิดกับกล้วยไม้ได้ ยกตัวอย่างเช่น
1. โรคเน่า เชื้อรา ใบด่าง ใบจุด - ส่วนมากแล้วปัญหานี้มักจะเกิดจาก
- ติดมากับพันธุ์เอง หรือเชื้อโรคมันก็มีอยู่ในดินอยู่แล้ว โดยเฉพาะแปลงที่มีการปลูกซ้ำๆ บ่อยๆ
- การใส่ปุ๋ยคอกที่ไม่ผ่านการหมัก เพราะปุ๋ยคอกเหล่านี้จะเป็นหลักสำคัญที่จะนำพาเชื้อรา เชื้อโรคมาสู่ดิน แม้การใส่ปุ๋ยคอกจะช่วยการปรับสภาพดิน แต่มันก็มาพร้อมกับหัวเชื้อโรคชั้นดีด้วย
- การใส่ปุ๋ยยูเรียเป็นระยะเวลาที่นาน ต้องยอมรับในทางการวิจัย พบว่า ปุ๋ยยูเรียที่ตกค้างอยู่ในดิน เป็นส่วนสำคัญทำให้ดินเปรี้ยว มีค่าเป็นกรดมากขึ้น (ลองเอาน้ำส้มคั้นสดผสมยูเรียแล้วชิมดู น้ำส้มที่กินจะมีความเปรี้ยวเพิ่มมากขึ้น) เหมาะกับการเติบโตของเชื้อโรค คนสมัยก่อนจึงต้องแก้ด้วยปูนขาว (ด่าง) ปูนขาวไม่ได้ทำให้เชื้อตาย แต่ทำให้ดินตัดกรดด้วยด่าง เชื้อโรคจะไม่แพร่เพิ่ม
ซึ่งการที่ดินมีค่าเป็นกรดก็จะส่งผลทำให้ดินละเอียดขึ้น แน่นขึ้นเหนียวขึ้น รากจึงเดินไม่ค่อยดี แก๊สในดินก็ระบายออกได้ยาก ไม่โปร่ง ส่งผลทำให้ดินแฉะนาน เป็นกรด ซึ่งต้นไม้ส่วนมากไม่ชอบดินแฉะ ถ้าดินแน่นไป ก็หายใจไม่ออก นอกจากนี้ดินเป็นกรดก็ยังเป็นแหล่งเพาะเชื้อขยายพันธุ์ได้ดีของเชื้อโรคอีกด้วย

2. เพลี้ย แมลง เหตุการณ์นี้มักจะเกิดในช่วงต้นไม้อ่อนแอ หรือใส่ปุ๋ยยูเรียจนบ้าใบ ใบยาว เขียว แต่ใบบาง แมลงชอบเพราะกินง่าย ใบตกโค้งปิดเป็นโพรงที่อยู่อาศัยของแมลงได้ดีเลย ถ้าเกิดอาการนี้แล้วคงต้องแก้ตามอาการ แล้วงวดหน้าต้องลองใหม่

อันที่จริงการเพาะเลี้ยงกล้วยไม้มีความซับซ้อนมากๆ
หัวข้อนี้ขอนำเสนอเฉพาะการดูแลรักษา กล้วยไม้ที่อยู่ในความครอบครองของคุณนะครับ

เตรียมสถานที่ปลูก
- สำหรับกล้วยไม้กึ่งรากอากาศ ให้แช่อุปกรณ์ที่จะให้กล้วยไม้เกาะ เช่น ไม้ ถ่าน กาบมะพร้าว ในน้ำผสมปุ๋ยน้ำ ฮิ้ว 1 (10 cc) + เจซี 301 (5 cc) + แอคมี (10 cc) เพื่อเป็นอาหารดูดทางรากและฆ่าเชื้อโรค
- กระถางต้องระบายอากาศได้ดี โปร่ง น้ำไม่ขัง ทำให้กาบมะพร้าวแห้งไม่ยากเกินไป

เลือกต้นพันธุ์
- เลือกต้นที่มีสีเขียว อ้วน สมบูรณ์ ไม่ด่าง ไม่จุด ไม่ไหม้ ไม่เป็นโรค
- ก่อนนำต้นพันธุ์ไปปลูก ใช้แช่น้ำ ผสม ปุ๋ยน้ำ ฮิ้ว 1 (10 cc) + เจซี 301 (5 cc) + แอคมี (10 cc) เพื่อกระตุ้นการเติบโตและฆ่าเชื้อโรคแฝงพันธุ์

การลงกระถาง
- ให้รดน้ำ วันละ 1 ครั้ง ช่วงเช้า ถ้าจับกาบมะพร้าวแล้วยังเปียกอยู่ก็ยังไม่ต้องรดน้ำ ทำเป็นละอองหมอกก็ได้ อย่ารดจนแฉะอยู่ตลอดเวลา ต้องให้เปียกและแห้งได้
- กล้วยไม้สกุลรากอากาศ (ไม่มีเครื่องปลูก ไม่มีกาบมะพร้าว) ต้องรดน้ำวันละ 2 ครั้ง ฉีดแช่สัก 30 วินาที แล้วฉีดพ่น ปุ๋ยน้ำ ฮิ้ว 2 (10 cc) + เจซี 301 (5 cc) ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุกๆ 7 วัน
- แสงไม่แรงเกินไป แต่ที่สำคัญคืออย่าย้ายสถานที่บ่อยๆ

กระตุ้นการออกดอกผล
- ก่อนออกดอก ให้เตรียมอาหารเพื่อเตรียมเบ่ง ด้วยการฉีดพ่น ปุ๋ยน้ำ ฮิ้ว 2 (10 cc) + เจซี เอฟพลัส (5 cc) ต่อน้ำ 20 ลิตร (อาจเพิ่มพลัส 2 10 cc ก็ได้ เพื่อบำรุงที่สุดยอด) ทุกๆ 7 วัน และทุกๆ 1 เดือนให้ผสม แอคมี (20 cc) ลงไปด้วย จะได้ช่วยป้องกันเชื้อโรคในต้น 
- ช่วงทำดอก ต้องงดน้ำเปียก แต่ให้ทำเป็นละอองบางๆ แทน เพื่อป้องกันน้ำละลายไนโตรเจนเข้าสู่ต้น และเน้นฉีดพ่น JC เอฟพลัส มีโพแทสเซียม แคลเซียม โบรอนสูง เพราะธาตุอาหารนี้มีฤทธิ์กดฤทธิ์ไนโตรเจน และกระตุ้นการเก็บคาร์บอน (C) ที่ใบ เพื่อเบ่งดอก
- ถ้าเกิดฝนตกลงมา หลังฝนตกให้รีบ ฉีดพ่น ปุ๋ยน้ำ ฮิ้ว 2 (10 cc) + เจซี เอฟพลัส (5 cc) ต่อน้ำ 20 ลิตร (อาจเพิ่มพลัส 2 10 cc ก็ได้ เพื่อบำรุงที่สุดยอด) เพื่อให้ใบมีธาตุอาหารเพียงพอ ใบจะได้ไม่สั่งการให้รากดูดน้ำฝนและไนโตรเจนขึ้นมา (สาเหตุแตกยอดไม่ยอมออกดอก) และช่วยรักษาสมดุลน้ำ/ไนโตเจนในดอก จะได้ไม่ร่วงเร็ว
- อาจจะใช้วิธีการสลับรอบการฉีดพ่นระหว่าง ทีมเจซี 301 กับ ทีมเอฟพลัส ก็ได้

หากเกิดปัญหาเชื้อโรคในต้นพันธุ์
- ให้ฉีดพ่นปุ๋ยน้ำ ฮิ้ว 2 (20 cc) + เจซี 301 (5 cc) + แอคมี (50 cc) ต่อน้ำ 20 ลิตร  (อาจเพิ่มพลัส 1 10 cc ก็ได้ เพื่อบำรุงที่สุดยอด)
- หว่านปุ๋ยเจซี 633 (สีส้ม) ในอัตรา 1-3 ก.ก. ต่อต้น (ขึ้นอยู่กับอายุของต้นไม้)
- ช่วงรักษาต้นไม้จะทิ้งใบที่มีปัญหาออกไป แล้วแตกยอดใหม่
- หากเกิดแมลงศัตรูพืชรบกวน ให้ใช้วิธีดำเนินการตามสูตรที่ศึกษามาในแต่ละชนิดของแมลง

ปุ๋ยน้ำชีวภาพให้ทางใบ เป็นปุ๋ยที่พัฒนาสูตรโดยศึกษาจากธรรมชาติของต้นไม้  เพราะต้นไม้สามารถกินอาหารทางใบได้ด้วย และเป็นการย่นย่อระยะทาง การฉีดพ่นปุ๋ยน้ำทางใบจะทำให้ต้นไม้สามารถนำไปใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาดูดซึมอาหารจากรากขึ้นสู่ใบ ทำให้ต้นไม้สดชื่นไว เห็นผลเร็ว ทนแล้งทนหนาวได้ และแข็งแรงเติบโตดี เสมือนการให้น้ำเกลือแร่กับต้นไม้นั่นเอง

This is the bottom slider area. You can edit this text and also insert any element here. This is a good place if you want to put an opt-in form or a scarcity countdown.