

เผือก นับเป็นพืชที่สามารถนำมาใช้ทำอาหาร ขนม เครื่องดื่มได้หลากหลาย
จึงเป็นต้นไม้เศษฐกิจท้องถิ่นที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้มากมาย แถมปลูกง่าย ขยายพันธุ์ไม่ยากด้วย
สำหรับเกษตรกรทุกๆ คน เขาก็อยากให้ผลผลิตทางการเกษตรที่ตนปลูกมีผลที่สมบูรณ์ ได้หัวใหญ่ มีน้ำหนัก มีคุณภาพ และไม่มีเชื้อโรค หรือศัตรูพืชมาทำลาย เพื่อจะได้จำหน่ายได้รายได้มากๆ

แต่อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริง เกษตรกรก็มักจะประสบปัญหามากมาย ทั้งศัตรูพืชเอง เชื้อโรค หรือสภาพอากาศ น้ำท่วม น้ำแล้ง หรือปัญหาเรื่องรายได้ไม่คุ้มปุ๋ย
ทำให้เกษตรกร จำเป็นต้องเสียเงิน เสียแรง และเสียเวลาที่จะแก้ไขปัญหานี้
หรือบางครั้งต้องขาดทุนจากการลงทุนปุ๋ยไปเสียด้วยซ้ำ
ซึ่งปัญหาที่อาจจะเกิดกับต้นเผือกได้ ยกตัวอย่างเช่น
1. โรคเน่า เชื้อรา ใบด่าง ใบจุด - ส่วนมากแล้วปัญหานี้มักจะเกิดจาก
- ติดมากับพันธุ์เอง หรือเชื้อโรคมันก็มีอยู่ในดินอยู่แล้ว โดยเฉพาะแปลงที่มีการปลูกซ้ำๆ บ่อยๆ
- การใส่ปุ๋ยคอกที่ไม่ผ่านการหมัก เพราะปุ๋ยคอกเหล่านี้จะเป็นหลักสำคัญที่จะนำพาเชื้อรา เชื้อโรคมาสู่ดิน แม้การใส่ปุ๋ยคอกจะช่วยการปรับสภาพดิน แต่มันก็มาพร้อมกับหัวเชื้อโรคชั้นดีด้วย
- การใส่ปุ๋ยยูเรียเป็นระยะเวลาที่นาน ต้องยอมรับในทางการวิจัย พบว่า ปุ๋ยยูเรียที่ตกค้างอยู่ในดิน เป็นส่วนสำคัญทำให้ดินเปรี้ยว มีค่าเป็นกรดมากขึ้น (ลองเอาน้ำส้มคั้นสดผสมยูเรียแล้วชิมดู น้ำส้มที่กินจะมีความเปรี้ยวเพิ่มมากขึ้น) เหมาะกับการเติบโตของเชื้อโรค คนสมัยก่อนจึงต้องแก้ด้วยปูนขาว (ด่าง) ปูนขาวไม่ได้ทำให้เชื้อตาย แต่ทำให้ดินตัดกรดด้วยด่าง เชื้อโรคจะไม่แพร่เพิ่ม
ซึ่งการที่ดินมีค่าเป็นกรดก็จะส่งผลทำให้ดินละเอียดขึ้น แน่นขึ้นเหนียวขึ้น รากจึงเดินไม่ค่อยดี แก๊สในดินก็ระบายออกได้ยาก ไม่โปร่ง ส่งผลทำให้ดินแฉะนาน เป็นกรด ซึ่งต้นไม้ส่วนมากไม่ชอบดินแฉะ ถ้าดินแน่นไป ก็หายใจไม่ออก นอกจากนี้ดินเป็นกรดก็ยังเป็นแหล่งเพาะเชื้อขยายพันธุ์ได้ดีของเชื้อโรคอีกด้วย
2. เพลี้ย แมลง เหตุการณ์นี้มักจะเกิดในช่วงต้นไม้อ่อนแอ หรือใส่ปุ๋ยยูเรียจนต้นไม้บ้าใบ ใบยาว เขียว แต่ใบบาง แมลงชอบเพราะกินง่าย ใบตกโค้งปิดเป็นโพรงที่อยู่อาศัยของแมลงได้ดีเลย ถ้าเกิดอาการนี้แล้วคงต้องแก้ตามอาการ แล้วงวดหน้าต้องลองใหม่








เตรียมดินเริ่มต้นฤดูกาล
- ปรับสภาพดินให้พร้อมต่อการเพาะปลูก ด้วยการหว่านปุ๋ยเจซี 633 (สีส้ม) ให้ทั่วแปลง ในอัตรา 2 กระสอบ (50 ก.ก.) ต่อไร่ ทิ้งไว้ 1 เดือน (โดยเฉพาะแปลงที่เคยใช้ปุ๋ยเคมีมาโดยตลอด) เพื่อซักดิน ปรับภาพความเป็นกรดด่าง ฆ่าเชื้อโรค และหว่านอีกอครั้ง ในอัตรา 3 กระสอบ (75 ก.ก.) ต่อไร่ ก่อนลงต้นพันธุ์ 1 สัปดาห์
- แต่ถ้าฤดูกาลก่อนเคยใช้ปุ๋ยเจซี 633 (สีส้ม) ให้หว่านปุ๋ยเจซี 633 (สีส้ม) ให้ทั่วแปลง ในอัตรา 3 กระสอบ (75 ก.ก.) ต่อไร่ แล้วทิ้งไว้ 1 สัปดาห์
- หากปลูกเป็นรายต้น ให้คลุกดินผสมปุ๋ยเจซี 633 (สีส้ม) กำเล็กๆ ต่อหลุม คลุกกับดินให้เข้ากันทิ้งไว้ 1 เดือน เมื่อลงต้นพันธุ์แล้วให้หว่านปุ๋ยเจซี 633 (สีส้ม) กำมือเล็กๆ ต่อต้น

เตรียมต้นพันธุ์
- ใช้ต้นพันธุ์ที่อวบ เพื่อจะได้ต้นพันธุ์ที่มีอาหารเยอะและทนแล้ง
- แช่/ชุบต้นพันธุ์ ด้วยปุ๋ยน้ำ ฮิ้ว 2 (10 cc) + เจซี 301 (5 cc) + แอคมี (10 cc) ต่อน้ำ 20 ลิตร
- เมื่อเตรียมดินเสร็จแล้ว นำไปปักบบแปลงที่เตรียมไว้ได้เลย และให้น้ำตามปกติ ตามสูตรที่ศึกษามาในแต่ละพื้นที่

บำรุงต้นพันธุ์
- ต้นเผือกเป็นต้นไม้ที่กินปุ๋ยเก่งมากๆ เมื่อเทียบกับต้นไม้อื่น ยิ่งใส่ปุ๋ยเม็ด ยิ่งใส่มาก ยิ่งผลผลิตสูง เพราะเกษตรกรมักจะมีปัญหาการเดินฉีดพ่นในแปลง และใบเผือกที่น้ำเกาะยาก ถ้าฉีดพ่นไม่ได้อาจต้องเพิ่มสารจับใบ หรือใส่ปุ๋ยเม็ดเยอะๆ
- เมื่อปักต้นพันธุ์แล้ว 2 วัน ให้ฉีดพ่นปุ๋ยน้ำ ฮิ้ว 2 (10 cc) + เจซี 301 (5 cc) ต่อน้ำ 20 ลิตร (อาจเพิ่มพลัส 1 10 cc ก็ได้ เพื่อบำรุงที่สุดยอด)
- ฉีดพ่น ปุ๋ยน้ำ ฮิ้ว 2 (10 cc) + เจซี 301 (5 cc) ต่อน้ำ 20 ลิตร (อาจเพิ่มพลัส 1 10 cc ก็ได้ เพื่อบำรุงที่สุดยอด) ทุกๆ 7 วัน และทุกๆ 1 เดือนให้ผสม แอคมี (20 cc) ลงไปด้วย จะได้ช่วยป้องกันเชื้อโรคในต้นเผือก
- ใส่ปุ๋ยเจซี 633 (สีส้ม) ในอัตรา 4 - 5 กระสอบ ต่อไร่ ทุกๆ 2 เดือน (จำนวน 3 ครั้ง)
- ทำแบบนี้จนเก็บเกี่ยวผลผลิต ใส่มาก ใส่บ่อย ผลผลิตก็จะยิ่งดี

หากเกิดปัญหาเชื้อโรคในต้นพันธุ์
- ให้ฉีดพ่นปุ๋ยน้ำ ฮิ้ว 2 (20 cc) + เจซี 301 (5 cc) + แอคมี (50 cc) + สารจับใบ ต่อน้ำ 20 ลิตร (อาจเพิ่มพลัส 1 10 cc ก็ได้ เพื่อบำรุงที่สุดยอด)
- หว่านปุ๋ยเจซี 633 (สีส้ม) ต้นที่มีปัญหา 5 ขีดต่อต้น หรือ 5 กระสอบต่อไร่ (หากเกิดการระบาดยกแปลง)
- ช่วงรักษาต้นไม้จะทิ้งใบที่มีปัญหาออกไป แล้วแตกยอดใหม่
- หากเกิดแมลงศัตรูพืชรบกวน ให้ใช้วิธีดำเนินการตามสูตรที่ศึกษามาในแต่ละชนิดของแมลง

ปุ๋ยน้ำชีวภาพให้ทางใบ เป็นปุ๋ยที่พัฒนาสูตรโดยศึกษาจากธรรมชาติของต้นไม้ เพราะต้นไม้สามารถกินอาหารทางใบได้ด้วย และเป็นการย่นย่อระยะทาง การฉีดพ่นปุ๋ยน้ำทางใบจะทำให้ต้นไม้สามารถนำไปใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาดูดซึมอาหารจากรากขึ้นสู่ใบ ทำให้ต้นไม้สดชื่นไว เห็นผลเร็ว ทนแล้งทนหนาวได้ และแข็งแรงเติบโตดี เสมือนการให้น้ำเกลือแร่กับต้นไม้นั่นเอง


