เราอาจจะเคยเห็นสูตรปุ๋ยยอดนิยมตามหน้ากระสอบปุ๋ยที่เขาเขียนสูตรปุ๋ยเอาไว้ มากมาย
ไม่ว่าจะเป็น 15 – 15 – 15, 46 – 0 – 0, 13 – 13 – 20 หรือแม้กระทั่ง 12 – 4 – 4
และตามกฎหมายเขาก็ระบุเลยว่า ปุ๋ยสูตรแบบนี้ต้องรวมกันไม่น้อยกว่า 12 ด้วย

แต่คุณเคยสงสัยกันไหมครับว่า จริงๆ แล้วต้นไม้มันจำเป็นต้องใช้ธาตุอาหารหลักเท่าไหร่กันแน่
แล้วจริงหรือที่ ต้นไม้ต่างวัย ต่างช่วง จะต้องใช้ปุ๋ยไม่เหมือนกันจริงๆ

เอาคำถามที่ 2 ก่อนแล้วกัน ตอบง่ายดี จริงๆ ต้นไม้แต่ละช่วงแต่ละวัย มันสามารถใช้ปุ๋ยเดียวกันได้ แค่บางช่วงอาจต้องเน้นธาตุอาหารบางตัวไว้เป็นพิเศษเท่านั้นเอง
อะลองสังเกตต้นไม้ในป่าดูสิ ตั้งแต่มันเกิด โต ออกลูก ก็ไม่เคยมีใครไม่โรยธาตุอาหารอะไรเพิ่ม หรือผมก็ไม่เคยเห็นมันเดินย้ายที่ไปกินธาตุอาหารอะไรเพิ่ม ดินก็ดินเดิม ที่ก็ที่เดิม มันก็ยังเติบโตได้ดี มันอยู่ได้แม้มีธาตุอาหารเท่าเดิม แค่หากอยากได้ผลดีกว่าเดิมก็แค่เติมไม่ให้มันขาดเท่านั้นเอง

คำถามข้อแรก
ผมว่าต้นไม้ก็เหมือนกับเรานี่แหละเป็สิ่งมีชีวิตเหมือนกัน เรารู้ใช่ไหมครับว่า ข้าวมีประโยชน์ต่อการเติบโต ถ้าอย่างนั้นหากผมอยากให้ลูกผมโตไวๆ ผมให้ลูกกินข้าวมื้อละกะละมังได้มะ เขาจะได้โรเร็วกว่าเพื่อน
555 จะบ้าหรอเป็นไปไม่ได้หรอก แถมลูกผลก็คงกินข้าวได้แค่ จานเดียวก็อิ่มแล้ว กินต่อไม่ได้ เขาจะกินอีกทีเมื่อหิว แล้วอาหารที่เหลืออีกค่อนกะละมังหละ ก็ต้องทิ้ง บูด เน่า สลาย ไร้ประโยชน์ ถูกต้องไหมครับ
ต้นไม้ก็เช่นเดียวกัน

แล้วต้นไม้กินอาหารมื้อหนึ่งเท่าไหร่หละ
ถ้าเป็นธาตุอาหารหลักนะ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม เพียงแค่

4 – 4 – 1

และต้องมีธาตุอาหารรอง 3 ชนิด ธาตุอาหารเสริมอีก 7 ชนิด ประมาณ 1 – 2 ถึงครบถ้วน เหมือนเรากินอาหารครบ 5 หมู่ แม้ต้นไม้จะต้องการธาตุอาหารรอง เสริมน้อย แต่ธาตุอากหารพวกนี้แหละที่ทำให้ต้นไม้มีศักยภาพ ประสิทธิภาพกินปุ๋ยต่อมื้อได้ดีขึ้นและมากขึ้นกว่าเดิม

ต่อมื้อต้นไม้กินแค่นี้

แม้เราจะโหมประโคมใส่ปุ๋ยหนักแค่ไหนก็กินได้มื้อละแค่นี้ ส่วนปุ๋ยที่เหลือกว่าค่อน มันก็จะระเหยไปเช่นไนโตรเจน ถูกชะล้างไป ซึ่งมักพบในปุ๋ยเคมี เพราะปุ๋ยเคมีมักจะมีฤทธิ์ปลดปล่อยปุ๋ยได้เพียง 7 วัน ส่วนอีกเกือบ 10 เดือนที่เหลือก่อนใส่ปุ๋ยรอบหน้า ต้นไม้ก็ต้องกินดินเปล่าๆ พืชมันถึงโตไม่สุด ยังไงหละ

จากข้อนี้ผมไม่ได้คิดเองแต่ได้อ้างอิงแนวคิดเพื่อยกตัวอย่างมาจาก
วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร ม.แม่โจ้ พ.ศ. 2560 ทดลองสุ่มกับข้าวแบบเปรียบเทียบข้าว ได้ผลดังนี้
1. แปลงข้าว ปลูกไม่ใส่ปุ๋ยเลย ได้ความสูง 78 cm
ขายข้าวได้ 6,600 บาท
2. แปลงข้าว ปลูกใส่ปุ๋ยเคมี 15-5-5 ได้ความสูง 75 cm
ขายข้าวได้ 8,000 บาท
3. แปลงข้าว ปลูกใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินเมืองไทย ใส่ปุ๋ย 4-4-0 ได้ความสูง 81 cm
ขายข้าวได้ 8,100 บาท
4. แปลงข้าว ใส่ปุ๋ย 2 เท่า (8-8-0) ได้ความสูง 77 cm (เสียค่าปุ๋ย 2 เท่า)
ขายข้าวได้ 7800 บาท
5. แปลงข้าว ใส่ปุ๋ย 3 เท่า (12-12-0) ได้ความสูง 82 cm (เสียค่าปุ๋ย 3 เท่า)
ขายได้ 8,100 บาท
(ที่ไม่ต้องใส่โพแทสเซียม เพราะในดินเมืองไทย มีมากพอ)

จากการทดลองสรุปได้ว่า
สมาชิกในการวิจัย ผู้ใช้ 4-4-0 สามารถลดค่าปุ๋ยได้ 506 บาทต่อไร่ ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 175 ก.ก. ต่อไร่ ข้าวแข็งแรง จึงจำเป็นต้องใช้สารกำจัดศัตรูพืช น้อยลงมาก

วิจัยจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร
วิเคราะห์ต้นลำไยอายุ 3 ปี จากใบและลูก พบว่าใน 1 ปี ต้นลำไยใช้ไนโตรเจน (N) 4.45 กิโลกรัม ฟอสฟอรัส (P) 4.275 กิโลกรัม และโพแทสเซียม (K) 1.025 กิโลกรัม
= ต้นลำไยใช้ NPK 4-4-1 เท่านั้นเอง

บางครั้งคงต้องมานั่งคิดแล้วหละว่า ไอที่เราใส่ๆ หนะ มันดีจริงหรือเราคิดไปเองว่ามันน่าจะดี??

สรุปการวิจัยได้ว่า
ใส่ปุ๋ยค่ามากๆ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะได้ผลดีกว่าซะหน่อย!!
ใส่มากไป ต้นไม้หิวแค่ไหนก็กินปุ๋ยได้เท่าที่อิ่ม หากกินไม่ทันกินไม่หมด ปุ๋ยที่เหลือก็ทิ้งไป/เลี้ยงหญ้าไม่มีประโยชน์อะไร
พืชก็ไม้ได้โตขึ้นเร็วกว่าเดิม แถมบางที่ไม่งามกว่าเดิมด้วยซ้ำ เหมือนซื้อปุ๋ยแพงๆ ไปถมที่
ยิ่งเมืองไทย ดินพื้นฐานดีอยู่แล้ว หากเพิ่มศักยภาพดินให้ดีๆ ดินจะมีธาตุอาหารจากธรรมชาติเพียงพอแล้ว โดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มก็ได้

ดังนั้นหากเราจะใส่ปุ๋ยเน้นเลขปุ๋ยที่พอดีๆ ต้นไม้มันก็มีขีดจำกัดในการดูดธาตุอาหารนะ แม้เราจะใส่ปุ๋ยมากๆ ก็ไม่ได้มากความว่าต้นไม้จะดูธาตุอาหารได้มากกว่าเดิมซะหน่อยมันก็ดูดธาตุอาหารได้เท่าเดิม
นอกกจากนี้ เราควรใส่ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารหลากหลายไม่ต้องมากก็ได้แค่ให้ครบ 13 ธาตุอาหารก็พอ และที่สำคัญควรเป็นปุ๋ยที่ปลดปล่อยธาตุอาหารให้นานๆ เราจะได้ไม่ต้องออกแรงใส่ปุ๋ยบ่อยๆ และต้นไม้ก๋ยังจะได้มีอาหารกินต่อเนื่องตลอดๆ ไม่มีมื้อไหนอด
ที่สำคัญควรเป็นปุ๋ยที่มีจุลิทรีย์เพื่อเพิ่มศักยภาพดินย่อยดินให้เป็นธาตุอาหารให้อุดมสมบูรณ์ขึ้น
เพียงเท่านี้ต้นไม้ก็จะแข็งแรง สมบูรณ์และออกดอกออกผลให้เราได้ดีกว่าเดิม

สรุปสูตรการใส่ปุ๋ยให้ได้ผลดี เลขไม่ต้องมาก ไม่ต้องเยอะแค่ให้ธาตุอาหารครบ
และควรใส่น้อยๆ แต่ถี่ๆ หรือหากไม่อยากใส่บ่อยๆ ก็ใช้ปุ๋ยที่สามารถปลดปล่อยธาตุอาหารได้นานๆ ต้นไม่จะได้มีอาหารค่อยๆ กินเพียงพอได้หลายๆ มื้อ

ใส่ปุ๋ยให้พอดี เน้นบำรุงดิน บำรุงจุลินทรีย์ในดิน และใช้ปุ๋ยที่ย่อยสลายปลดปล่อยปุ๋ยได้นานๆ

Leave a comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *