Breaking News
Home » การเกษตรอินทรีย์ » ต้นไม้เติบโตได้อย่างไร-หลักการทำกรดอะมิโนให้ต้นไม้

ต้นไม้เติบโตได้อย่างไร-หลักการทำกรดอะมิโนให้ต้นไม้

จริงๆ ต้นไม้กินอาหารได้ทั้ง 2 ทาง คือ ทางราก และทางใบ
ทางราก ต้นไม้กินน้ำ (H2O) ส่วนทางใบกินคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
เมื่อต้นไม้ดูดอาหารพวกนี้แล้ว ก็จะนำมาเก็บไว้ในแป้ง โดยเอาแค่ H กับ C เก็บไว้ในรูปของแป้งและน้ำตาล (C-H) แล้วขับออกซิเจน (O) ออกไป ดังนั้นช่วงกลางวันถ้าเราไปนอนใต้ต้นไม้จึงสดชื่น เพราะมีออกซิเจนเพิ่มถึง 3 เท่า
แล้วเมื่อช่วงเวลา 15.00 น. ต้นไม้จะเริ่มเอาสารอาหารที่เก็บมาทั้งวัน มาย่อยปรุงด้วยแสงแดดออกมาในรูปของกรดอะมิโน 18 ชนิด เพื่อนำไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของต้นไม้ ทำให้โต ผลใหญ่ ป้องกันโรค

ส่วนตอนกลางคืน ต้นไม้นอน ต้นไม้จะดึงออกซิเจนกลับ แล้วปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา

เมื่อต้นไม้โตได้ด้วยกรดอะมิโน มนุษย์จึงคิดค้นการทำกรดอะมิโนขึ้น เช่น
ไข่ไก่ – ทำกรดอะมิโนได้ 6 ชนิด – เน้นผลใหญ่ (แต่เปลือกไข่ถ้าจะทำให้ได้แคลเซียมเปลือกไข่ต้องหมัก 6 เดือน)
หัวปลาหมัก – ได้โปรตีน – เน้นเขียว

แต่อย่างไรก็ตาม ต้นไม้ต้องการกรดอะมิโน 18 ชนิด ดังนั้นจึงนับว่ายากมากและแพงมากที่เราจะใช้ส่วนผสมเพื่อทำกรดอะมิโนให้ครบ 18 ชนิด

ดังนั้นต้นไม้เติบโตได้ด้วย C – H และเมื่อเรานำเนื้อผักผลไม้มาวิเคราะห์ จะพบว่า ในเนื้อผักผลไม้ มี
คาร์บอน (C) – 45%, ออกซิเจน (O) – 45%, ไฮโดรเจน (H) – 6% รวมเป็น 96%
ส่วน 4% ที่เหลือ คือ ปุ๋ย 17 ธาตุอาหารนั่นเอง เป็นธาตุอาหารจากอากาศ น้ำและแสงแดด 3 ธาตุอาหาร อีก 14 ธาตุอาหารได้จากปุ๋ย

คิดเป็น
ไนโตรเจน (N) – 1.5% = 1 กก. ครึ่ง/ปี
ฟอสฟอรัส (P) – 0.2% = 2 ขีด/ปี
โพแพสเซียม (K) – 1% = 1 กก./ปี
แคลเซียม (Ca) – 0.5% = ครึ่งกิโลกรัม/ปี – เพิ่มประสิทธิภาพ NPK โตไว ผลดี ไม่ร่วง ตูดไม่เหี่ยว
แม็กนีเซียม (Mg) – 0.2% = 2 ขีด/ปี – เพิ่มประสิทธิภาพ N เขียวทนนาน
กำมะถัน (S) – 0.1% = 1 ขีด/ปี – เพิ่มภูมิคุ้มกัน ดูดซึมดี
เหล็ก (Fe) – 0.01% = 10 mg/ปี – เพิ่มเขียว
เพิ่มประสิทธิภาพ N และ Mg เพิ่มคลอโรฟิลปรุงอาหารได้มากขึ้น
สังกะสี (Zn) – 0.002% = 2 mg/ปี – ลดเชื้อโรค เพิ่มภูมิคุ้มกันป้องกันเชื้อรา
ทองแดง (Cu) – 0.006% = 6 mg/ปี
แมงกานีส (Mn) – 0.005% = 5 mg/ปี
โบรอน (B) – 0.002% = 2 mg/ปี – ผสมเกสรได้ดี ลดอาการเป็นหมัน
โมลิบินัม (Mo) – 0.00001% = 0.01 mg/ปี – ผลไซต์เสมอตั้งแต่รุ่นแรกถึงรุ่นสุดท้าย
นิกเกิล (Ni) – 0.003% = 3 mg/ปี
คลอรีน (Cl) – 0.01% = 10 mg/ปี – ผลสุกเร็ว เก็บเกี่ยวได้เร็ว

ดังนั้นต้นไม้จะเติบโตได้ ต้องมีธาตุอาหารครบเป็นสำคัญ ไม่ใช่ธาตุอาหารมาก แม้บางธาตุอาหารต้นไม้จะต้องการน้อยมากๆๆๆๆ แต่ก็ขาดไม่ได้นะครับ และบางธาตุอาหารแม้ต้นไม้จะต้องการมากๆๆๆ แต่ก็ไม่ใช่ว่าใส่มากๆ แล้วจะดีขึ้นเสมอไป

เพราะฉะนั้นถึงแม้เราจะใส่ปุ๋ยสูตรสูงๆ ค่าล้นๆ ก็ไม่ได้ทำให้ต้นไม้กินปุ๋ยได้มากขึ้นเลย มันก็กินได้เท่าเดิมนั่นแหละ ส่วนปุ๋ยที่เหลือ ก็จะตกค้างในดิน ถ้าเป็นปุ๋ยเคมีปุ๋ยพวกนี้จะทำให้ดินเป็นกรด และเกิดปัญหาทางรากต่อไปอีกมากมายเลยที่เดียว

About admin

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*