Breaking News
Home » ปุ๋ยมูลค้างคาว 633 » ปุ๋ยอินทรีย์ ค้างคาว อินทรีย์เคมีภัณฑ์ 6-3-3

ปุ๋ยอินทรีย์ ค้างคาว อินทรีย์เคมีภัณฑ์ 6-3-3

สูตรปุ๋ยสูงกว่า แล้วจะดีกว่า จริงหรือ??

หลายปีมากๆ ที่ผมมีความเชื่อว่า ถ้าปุ๋ยสูตรเลขมากๆ ต้นไม้จะโตเร็ว จะดีกว่า แต่เท่าที่ผมใช้มา ผู้ก็รู้สึกว่าก็งั้นๆ ไม่เห็นจะดีขึ้นมากขึ้นตามเลขสูตรปุ๋ยที่เพิ่มขึ้นเลยจนวันหนึ่งผมได้ศึกษาธรรมชาติของพืช ต้นไม้ ถึงทำให้ผมเข้าใจเลยว่า“ต้นไม้ก็เหมือนคน”

จริงๆ ต้นไม้กินธาตุอาหารหลัก ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม (NPK) เพียงมื้อละ 441 เท่านั้นเอง และต้องการธาตุอาหารรอง เสริม อีก 13 ธาตุ ฉะนั้น ใส่ปุ๋ยเลขมากไปก็เท่านั้น เพราะต้นไม้มีขีดจำกัดอิ่ม เมื่อกินไม่หมดปุ๋ยก็ถูกทิ้งสลายไปอย่างน่าเสียดาย 
เหมือนกับเราที่ไม่อาจกินข้าวมื้อหนึ่งได้มากมายทุกอย่าง แม้จะเป็นมื้อบุฟเฟ่อาหารโปรดราคาแพงก็ตาม

ฉะนั้นการใส่ปุ๋ยที่ดีและได้ประโยชน์ คือ ใส่แต่พอดีและบ่อยๆ หากบ่อยๆ ไม่ได้ ก็ต้องหาปุ๋ยที่ออกฤทธิ์อยู่ได้นาน และหมั่นบำรุงจุลินทรีย์ในดิน สิ่งมีชีวิตสำคัญที่ช่วยย่อยอินทรีย์ ดิน และอากาศให้เป็นปุ๋ยธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง

ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยที่เกษตรกรนิยมใช้ แต่เชื่อไหมครับว่า ปุ๋ยเคมีนี้ ส่งปัญหาให้การเกษตรเรามากมายเลย
ป๋ยเคมีมักจะเกิดปัญหาไนโตรเจนระเหยสู่อากาศเร็ว และละลายเร็วปลดปล่อยธาตุอาหารมากแต่ก็เร็ว มีอายุออกฤทธิ์เพียง 7 วัน – 1 เดือนเท่านั้น
ต้นไม้จึงกินไม่ทัน ปุ๋ยที่เหลือส่วนมากจึงสลายหรือถูกน้ำชะล้างไปก่อน จึงอยู่ได้ไม่นาน แถมยังทำให้จุลินทรีย์ในดินสูญพันธุ์ด้วย

และสารเติมเต็มในปุ๋ยเคมี มักตกตะกอนสะสมในดิน ทำให้ดินมีค่ากรดด่างมากขึ้น 
ส่งผลให้ต้นไม้มีประสิทธิภาพการกินปุ๋ยน้อยลงในคราวต่อไป อาจเกิดอาการต้นไม่ไม่กินปุ๋ยได้ในอนาคตคนเราไม่สามารถกินอาหารบนโต๊ะจีนให้หมดได้ด้วยคนคนเดียวแล้วอิ่มนานไปอีกเป็นเดือนๆ
ธรรมชาติของเราต้องการกินอาหารในแต่ละมื้อที่มีปริมาณพอดี และได้กินอย่างต่อเนื่องต่างหาก

ปุ๋ยอินทรีย์เคมี คือ 
ปุ๋ยอินทรีย์ธรรมชาติที่มีการพัฒนาขึ้นโดยมีคุณสมบัติสามารถปลดปล่อยธาตุอาหารของพืชได้เท่ากับหรือมากกว่าปุ๋ยเคมี โดยปุ๋ยทองล้นผลิตขึ้นมามีองค์ประกอบธาตุอาหารครบถ้วนและเพียงพอต่อความต้องการของพืช และยังมีจุลินทรีย์ช่วยย่อยดินให้เป็นสารอาหารธรรมชาติเพิ่มได้นอกเหนือจากที่มีอยู่ในเม็ดปุ๋ย ซึ่งพืชจะได้สารอาหารมากกว่า 835 ตามระบุไว้แน่นอน

ปุ๋ยอินทรีย์ภัณฑ์ 633 (มูลค้างคาว)

  • ธาตุอาหารมีธาตุอาหารหลัก ไนโตรเจร ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ที่เราไม่ต้องผลิตธาตุอาหารนี้ให้สูงเท่าเคมี ก็เพราะเราต้องการให้ในปุ๋ยมีธาตุอาหารหลากหลาย มากกว่ามีแค่ธาตุอาหารหลักอย่างเดียวมากๆ และที่สำคัญในดินประเทศไทยเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์ มีธาตุอาหารธรรมชาติอยู๋แล้ว เราจึงเน้นใส่จุลินทรีย์เพื่อช่วยย่อยดินให้เป็นธาตุอาหารแก่พืชได้เต็มที่ ต้นไม้จึงได้ปุ๋นในอัตรามากกว่า 835 โดยเฉพาะฟอสฟอรัส และธาตุอาหารรอง อาหารเสริม 13 ชนิด เพื่อให้พืชได้สารอาหารได้หลากหลายและครบถ้วนตามความต้องการของต้นไม้ ไม่มากเกินและไม่น้อยเกิน ผลิตจาก “มูลเก่าจากค้างคาวหนู (ค้างคาวสายพันธุ์กินแมลง) หมักหมมตามธรรมชาติอายุกว่า 500 ปี” จากถ้าเขาหน่อเขาแก้ว นครสวรรค์
  • นอกจากนี้ในมูลค้างค้าวยังมีกำมะถันธรรมชาติ มีฤทธิไล่หอย แมลงศัตรูพืช
  • พลังจุลินทรีย์ 4 สายพันธุ์ โดยเฉพาะจุลิทรีย์อิสราเอล ช่วยตรึงธาตุอาหาร ย่อยดินแปลงดินเป็นสารอาหารให้ต้นไม้เพิ่มเติมสารอาหารจากธรรมชาติ เช่น ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม เป็นต้น ปรับสภาพโครงสร้างดินแก้ปัญหาเรื่องดิน แก้อาการพืชไม่กินปุ๋ย อุ้มปุ๋ยให้อยู่ได้นานกว่าเดิม 3 เท่า แข็งแรงทนโรค และยังมีจุลินทรีย์ที่ช่วยยับยั้งโรคพืชได้อีกด้วย เช่น เชื้อรา รากเน่า ทำให้สูตรปุ๋ยนี้จริงๆ คือ 6 3 3 x 3 = 18 9 9
  • พลังอินทรีย์กากอาหาร และนวัตกรรมจากญี่ปุ่น ทำให้ปุ๋ยนี้ใช้ได้กับพืชทุกชนิดและทุกวัย
  • พลังจากกรดอะมิโนจากญี่ปุ่น ช่วยให้พืชทนแดด ทนหนาว ทนแล้ง โดยเฉพาะใช้ควบคู่กับ ปุ๋ยน้ำให้ทางใบ โกรท 1 โกรท 2

ปุ๋ยมูลค้างคาว 633 ใช้ได้กับทุกพืช ทุกชนิด โดยมีเทคนิคการใช้ปุ๋ยหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับพืชแต่ละชนิด
ใน VDO มีการทดลองการปลดปล่อยสารอาหารได้นานกว่าเดิมด้วย

วิธีการใช้เบื้องต้น (รายละเอียดดูหลังกระสอบปุ๋ย)
– ไม้ยืนต้น อายุ 1 – 6 ปี หว่านรอบโคน 1 กิโลกรัม/ต้น
– ปาล์มน้ำมัน ต้นเล็ก 1 – 2 กิโลกรัม / ต้นใหญ่ 3 – 5 กิโลกรัม
– ไม้ผล อายุ 1 ปี ขึ้นไป หว่านรอบโคน 1 – 3 กิโลกรัม/ต้น
– ข้าว ระยะ 15 – 20 วัน หว่าน 50 กิโลกรัม/ไร่
– พืชไร่ รองพื้น 50 – 70 กิโลกรัม/ไร่
– ผัก อายุ 15 – 30 ปี หว่านระหว่างแถวแล้วฝังกลบ

15 – 15 – 15 = ธาตุอาหารหลัก 45%
อีก 55% คือ โฟม ปูนขาว ทรายบด ยิปซัม

6 – 3 – 3 = ธาตุอาหารหลัก 12%
อีก 88% คือ ธาตุอาหารรอง เสริม อินทรีย์วัตถุ จุลินทรีย์ เป็นต้น

About admin

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*